มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยที่สำคัญที่สุดส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับ High Voltage Safety หรือมาตรฐานความปลอดภัยในด้านระบบไฟฟ้าแรงสูงในรถยนต์ EV ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องถูกควบคุมภายใต้การรับรองความปลอดภัยสำหรับการใช้งานทั่วไป เพื่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่พร้อมใช้งานอย่างปลอดภัยสูงสำหรับผู้บริโภค
ในระดับสากลใช้มาตรฐาน International Organization for Standardization (ISO) และ International Electrotechnical Commission (IEC) ของสหภาพยุโรป และที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านไฟฟ้าแรงสูงในรถยนต์ EV อยู่ 2 ประเภท คือ ซึ่งประกอบด้วย
- ISO 6469-3 และ ISO 17409
- IEC 60664-1 และ IEC 61851-1
สำหรับประเทศไทย ใช้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. ในการกำกับควบคุมมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านไฟฟ้าแรงสูงในรถยนต์ EV โดยมีทั้งหมด 3 มาตรฐาน คือ
- มอก. 3382 ประกาศใช้ในปี 2565 ให้เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ส่วนประกอบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ซึ่งระบุเกี่ยวกับวิธีการทดสอบสมรรถนะและปริมาณโหลดในการใช้งานทั่วไปของระบบมอเตอร์ อินเวเตอร์ ตัวแปลงผัน DC/DC
- มอก. 3060 ประกาศใช้ในปี 2563 ให้เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสายไฟฟ้าสำหรับอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 0.6/1 kV หรือไม่เกิน 1,500 V DC ซึ่งมาตรฐานนี้ จะทดสอบสายไฟฟ้าที่มีการอัดขึ้นรูป ฉนวนและหุ้มปลอกตามค่าแรงดันข้างต้นที่กล่าวมา เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานภายใต้แรงดันที่รุนแรงสำหรับแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าระหว่างจุดจ่ายไฟฟ้าของสถานีประจุกับยานยนต์ไฟฟ้า (EV)
- มอก. 3068 ประกาศใช้ในปี 2563 ให้เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งแหล่งจ่ายไฟฟ้าแรงดันต่ำสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงวงจรที่ใช้ในการจ่ายพลังงานให้ยานยนต์ไฟฟ้า และวงจรที่ใช้สำหรับจ่ายไฟฟ้าย้อนกลับจากยานยนต์ไฟฟ้า โดยมาตรฐานนี้จะสิ้นสุดการควบคุมอยู่ที่จุดต่อเท่านั้น
ที่มา : https://data.thaiauto.or.th