จุดแข็งที่โดดเด่นที่สุดประการหนึ่งของ NFC ก็คือไม่จำเป็นต้องจับคู่หรือป้อนข้อมูลด้วยตนเองเพื่อสร้างการเชื่อมต่อ สามารถแตะอ่านข้อมูลได้เพียงไม่ถึงวินาที ในทางตรงกันข้าม อุปกรณ์ Bluetooth จะต้องยืนยัน PIN ในการจับคู่กันก่อน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ยุ่งยากและไม่สะดวกในเวลาเร่งด่วน
สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่รองรับฟีเจอร์ Near Field Communication หรือเทคโนโลยี NFC ที่สร้างขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในยุคดิจิทัล หากคุณเคยใช้แอปการชำระเงินผ่านมือถือ เช่น Samsung Pay หรือ Google Pay คงจะเคยสัมผัสประสบการณ์การทำงานของ NFC โดยสรุป มันคือมาตรฐานการสื่อสารแบบไร้สายในระยะใกล้มาก ๆ แทบจะแนบชิดเลยก็ว่าได้ ซึ่งแตกต่างจาก Wi-Fi หรือ Bluetooth ตรงที่ข้อจำกัดเรื่องระยะการเชื่อมต่อ นอกจากสมาร์ทโฟนแล้ว บางครั้งอาจจะพบ NFC บนแท็บเล็ต ลำโพง และอุปกรณ์เชิงอุตสาหกรรมในธุรกิจค้าปลีก
“NFC ใช้เทคโนโลยี RFID แต่มีช่วงการส่งข้อมูลที่ต่ำกว่ามาก”
NFC ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ อันที่จริงคือวิวัฒนาการของเทคโนโลยี RFID (การระบุความถี่คลื่นวิทยุ) ที่มีมานานหลายทศวรรษ ทั้ง RFID และ NFC ทำงานบนหลักการของการเชื่อมต่อแบบเหนี่ยวนำ สำหรับการใช้งานในระยะสั้น เมื่อนำแท็ก (tag) มาไว้ใกล้เครื่องอ่าน สนามแม่เหล็กจะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าภายในแท็ก ซึ่งจะสแกนข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในแท็กเพื่อนำเข้าข้อมูลไปยังระบบหรือ
ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง RFID และ NFC อยู่ที่ช่วงการส่งข้อมูล
RFID มักจะใช้ในระยะห่างจากเครื่องอ่านที่ไกลกว่า ตัวอย่างระบบเก็บค่าผ่านทางแบบอัตโนมัติ แท็ก (tag) จะถูกนำไปติดไว้ที่กระจกรถยนต์และจะถูกอ่านข้อมูลโดยเครื่อง RFID Reader ที่ถูกติดตั้งไว้ตามช่องเก็บค่าผ่านทาง โซลูชันนี้ถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระค่าผ่านทางแบบอัตโนมัติโดยที่ไม่ต้องจอดรถยื่นเงินให้กับพนักงาน เพิ่มความคล่องตัวให้กับสภาพการจราจรและความปลอดภัยให้กับพนักงานเก็บเงิน
NFC มีระยะห่างจากเครื่องอ่านสูงสุดเพียงไม่กี่เซนติเมตร ในแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่ จะพบว่าซอฟต์แวร์จะเริ่มต้นอ่านข้อมูลก็ต่อเมื่อมีการสัมผัสกันทางกายภาพเท่านั้น เหตุผลของระยะสืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีนี้ถูกปรับใช้สำหรับการถ่ายโอนข้อมูลทางธุรกรรมการเงินที่ละเอียดอ่อน ระยะที่ใกล้ที่สุด คือ ระยะที่ปลอดภัยที่สุด
สมาร์ทโฟนทุกเครื่องมี NFC หรือไม่
ในตลาดตะวันตก NFC เป็นคุณสมบัติหลักบนสมาร์ทโฟนมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว โดย Google Nexus S เป็นอุปกรณ์ Android เครื่องแรกที่มีฟีเจอร์ NFC ในตั้งแต่ปี 2010 ต่อมาในปี 2014 Apple ได้เริ่มนำเทคโนโลยี NFC เข้ามาไว้ใน iPhone ทุกรุ่นโดยเริ่มจาก iPhone 6 เป็นรุ่นแรก Honeywell EDA57 อุปกรณ์สมาร์ทโฟนเชิงอุตสาหกรรมนำเสนอฟีเจอร์ NFC เป็นจุดเด่นในการขับเคลื่อนธุรกิจค้าปลีก สำหรับอุปกรณ์สวมใส่แบรนด์ Mi เริ่มรองรับ NFC ในโมเดล Fitness Trackers และ Apple Watch
สามารถทำอะไรกับ NFC ได้บ้าง
- การถ่ายโอนข้อมูล: Google เปิดตัว Android Beam ในปี 2554 ด้วยการเปิดตัว Android Ice Cream Sandwich คุณสมบัตินี้ช่วยให้สามารถถ่ายโอนเนื้อหาหรือข้อมูลใด ๆ ที่แสดงอยู่บนหน้าจอไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ NFC ได้ เมื่อเร็วๆ นี้ Android Beam ได้เลิกใช้ฟีเจอร์นี้ในการแชร์ข้อมูลระยะใกล้ และใช้เทคโนโลยี Bluetooth และ Wi-Fi Direct แทน
- การชำระเงินผ่านมือถือ: Samsung Pay, Google Pay และ Apple Pay ต่างใช้ชิป NFC ของสมาร์ทโฟนของตนเองสำหรับการชำระเงินแบบไร้สัมผัส บัตรเดบิตและบัตรเครดิตส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีแท็ก NFC ในตัวอยู่แล้ว
- การจับคู่อย่างรวดเร็ว: ความสะดวกสบายของ NFC ขยายไปยังอุปกรณ์ที่ไม่มีหน้าจอ ลำโพงและหูฟังไร้สายมีการปรับใช้ NFC เพื่อแชร์ข้อมูลการจับคู่กับสมาร์ทโฟน กล้องถ่ายรูปบางรุ่นมีการปรับใช้เพื่อเริ่มต้นการเชื่อมต่อ Wi-Fi Direct อย่างรวดเร็วเพื่อการถ่ายโอนภาพถ่ายและวิดีโอที่ง่ายดาย
- การเข้าถึงการบริการขนส่งสาธารณะ: การขนส่งสาธารณะในหลายเมืองทั่วโลกมีการใช้แท็กหรือบัตรที่รองรับ NFC ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของกลไกการควบคุมการเข้าถึงการใช้บริการขนส่งสาธารณะ
- ระบบอัตโนมัติในบ้าน: แพลตฟอร์มสมาร์ทโฮมบางระบบ รวมถึง Home Assistant และ HomeKit ของ Apple ก็รองรับ NFC เช่นกัน การใช้แอปทั้งบน Android และ iOS ทำให้สามารถกำหนดค่าแท็ก NFC ที่มีจำหน่ายทั่วไปเพื่อควบคุมอุปกรณ์หรือระบบอัตโนมัติได้
NFC ประหยัดพลังงานมากกว่าเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น Bluetooth และ RFID อย่างชัดเจน เนื่องจากช่วงการส่งข้อมูลสั้นมาก ๆ เราคงเคยได้ยินคำแนะนำให้ปิดฟีเจอร์ Bluetooth เพื่อประหยัดพลังงานแบตเตอรี่ และนี่ก็คือความแตกต่างอีกประการของ NFC และ Blu
ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Near-field_communication และ https://en.wikipedia.org/wiki/Bluetooth