Machine-to-machine หรือ M2M เป็นคำเรียกแบบกว้าง ๆ ที่สามารถใช้เพื่ออธิบายเทคโนโลยีใด ๆ ก็ตามที่ช่วยให้อุปกรณ์เครือข่ายสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและดำเนินการได้โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากมนุษย์ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเรียนรู้ของเครื่อง (ML) เพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างระบบ เทคโนโลยี M2M ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในอุตสาหกรรมการผลิต ช่วยจัดการและควบคุมข้อมูลจากอุปกรณ์จากระยะไกล ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา M2M ก็ได้ค้นพบการใช้งานในภาคส่วนอื่น ๆ เช่น อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ ธุรกิจการประกันภัย และธุรกิจอื่น ๆ นอกจากนี้ M2M ยังเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับการทำงานเชิงอัตโนมัติของ internet of things หรือ IoT
M2M ทำงานอย่างไร
วัตถุประสงค์หลักของเทคโนโลยีแบบ Machine-to-machin คือการเข้าถึงข้อมูลเซ็นเซอร์และส่งไปยังเครือข่าย ไม่เหมือนกับ SCADA หรือเครื่องมือตรวจสอบระยะไกลอื่น ๆ ระบบ M2M มักใช้เครือข่าย 5G / 4G สำหรับ IoT โดยเฉพาะ เพื่อความยืดหยุ่นในการบริการจัดการระบบและค่าใช้จ่ายได้อย่างคุ้มค่าที่สุด
การสื่อสารแบบ Machine-to-machin ประเภทหนึ่งที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือการวัดค่าและส่งข้อมูลทางไกล ซึ่งมีการใช้มานานกว่าศตวรรษที่ผ่านมาเพื่อส่งข้อมูลการปฏิบัติงานมายังศูนย์ข้อมูล โดยผู้บุกเบิกด้านเทเลเมตริกได้เริ่มใช้ระบบสายโทรศัพท์ในการสื่อสาร และต่อมามีการปรับใช้การสื่อสารบนคลื่นวิทยุ เพื่อส่งการวัดประสิทธิภาพที่รวบรวมจากเครื่องมือตรวจสอบในสถานที่ห่างไกล
อินเทอร์เน็ตและมาตรฐานการสื่อสารที่ได้รับการออกแบบสำหรับเทคโนโลยีไร้สายสำหรับ IoT เพื่อขยายบทบาทของการวัดและส่งข้อมูลทางไกลจากภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างภาคอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และภาคส่วนการผลิต เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่น หน่วยวัดค่าความร้อน มิเตอร์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ ที่รองรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เป็นต้น
นอกเหนือจากความสามารถในการตรวจสอบอุปกรณ์และระบบจากระยะไกลแล้ว ประโยชน์สูงสุดของ M2M ยังรวมถึง:
- ลดต้นทุน – โดยลดการบำรุงรักษาและการหยุดทำงานของอุปกรณ์ให้เหลือน้อยที่สุด
- เพิ่มรายได้ – โดยเปิดเผยโอกาสทางธุรกิจใหม่สำหรับการให้บริการผลิตภัณฑ์ในภาคสนาม
- ปรับปรุงการบริการลูกค้า – โดยการตรวจสอบและให้บริการอุปกรณ์เชิงรุกก่อนที่จะล้มเหลวหรือเมื่อจำเป็นเท่านั้น
M2M กับ IoT
M2M และ IoT ก็มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน คิดว่า IoT เป็นแนวคิดที่ใหญ่กว่า ในขณะที่ M2M ก็เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดนี้ กล่าวแบบง่าย ๆ คือ M2M จะช่วยจัดการกระบวนการต่าง ๆ ในขณะที่ IoT ก้าวไปไกลกว่านั้น โดยช่วยปรับปรุงธุรกิจและประสบการณ์ผู้ใช้
ระบบ IoT นำเทคโนโลยี M2M ไปสู่อีกระดับ โดย M2M เชื่อมต่อหรือโต้ตอบกับอุปกรณ์โดยตรง ในขณะที่ IoT ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงและสร้างการเชื่อมต่อเพื่อนำระบบที่แตกต่างกันมารวมไว้ในระบบนิเวศขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกัน ระบบ M2M ใช้การสื่อสารแบบจุดต่อจุดระหว่างเครื่องจักร เซ็นเซอร์ และฮาร์ดแวร์ผ่านเครือข่าย 5G / 4G หรือแบบมีสายสื่อสาร ในขณะที่ระบบ IoT อาศัยเครือข่ายแบบ IP เพื่อส่งข้อมูลที่รวบรวมจากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ IoT ไปยังเกตเวย์ แพลตฟอร์มคลาวด์ หรือมิดเดิลแวร์
ความปลอดภัยของ M2M
มาตรการรักษาความปลอดภัย M2M ทั่วไป ได้แก่ การทำให้อุปกรณ์และเครื่องป้องกันการงัดแงะ การฝังฟีเจอร์การรักษาความปลอดภัยลงในเครื่อง หรือฟีเจอร์ความปลอดภัยระบบ Enterprise ทำให้มั่นใจด้านความปลอดภัยในการสื่อสารผ่านการเข้ารหัส และการรักษาความปลอดภัยเซิร์ฟเวอร์แบ็คเอนด์ เป็นต้น
ตัวอย่างการทำงาน
M2M เข้ามามีส่วนร่วมให้การทำงานของตู้จำหน่ายสินค้าแบบอัตโนมัติเข้าถึงระบบการแจ้งเตือนเหตุการณ์ต่าง ๆ หรือช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการอุปกรณ์จำนวนมากได้แบบรวมศูนย์ ทำให้ IoT สามารถขยายตัวบนเทคโนโลยี M2M ทำให้ระบบลดความซับซ้อน เพิ่มความคล่องตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ที่มา : https://thinkpalm.com/blogs/whats-machine-to-machine-m2m-communication-in-iot-why-is-it-vital/ และ https://www.wirelesslogic.com/understanding-iot/ และ https://www.techtarget.com/iotagenda/definition/machine-to-machine-M2M