สภาวะเงินเฟ้อส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการผลิตต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น พร้อมทั้งสถานการณ์การแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมการผลิตทั้งในและต่างประเทศที่มากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัว ถึงแม้ผู้ประกอบการจะมีแผนปรับลดต้นทุนภายในอย่างต่อเนื่อง แต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังไม่น่าพึงพอใจเท่าที่ควร ซึ่ง Agile OpX (Agile Operational Excellence) เป็นกระบวนการที่ได้รับการพิสูจน์จากหลายบริษัทแล้วว่า สามารถลดต้นทุนและเพิ่มกำไรให้กับผู้ประกอบการธุรกิจด้านการผลิตได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว ซึ่ง LiB Consulting บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น จะมาเผยถึงเคล็ดลับของ Agile OpX ให้ทุกท่านได้ทราบกัน
กำไรธุรกิจการผลิตสามารถเพิ่มได้ แต่ทำอย่างไรถึงได้ผล
ด้วยรูปแบบในการดำเนินธุรกิจการผลิตนั้นมีความซับซ้อน เกี่ยวโยงกับปัจจัยเรื่องเทคโนโลยี แรงงาน และความต้องการของตลาด ส่งผลให้แผนการดำเนินการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและเพิ่มกำไรให้ธุรกิจนั้น ไม่แสดงผลลัพธ์หรือความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนต่อองค์กร สาเหตุหลัก ๆ เกิดจาก
- ขาดการคำนึงถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงในเชิงกลยุทธ์ เช่น ปรับเฉพาะรูปแบบการดำเนินงานแต่ไม่ได้ปรับการจัดการค่าใช้จ่ายหลักขององค์กร เป็นต้น
- ขาดการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ ทำให้มีข้อมูลไม่เพียงต่อการประเมิน วิเคราะห์ และตัดสินใจเพื่อการเปลี่ยนแปลง หรืออาจจะมีข้อมูลแต่ไม่ได้นำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์
- ขาดองค์ความรู้และมุมมองใหม่ ๆ ที่จำเป็นต่อความสำเร็จของการลดต้นทุน อย่างเช่น การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของธุรกิจที่คล้ายกันในต่างประเทศ
- ขาดรูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล
ทุกองค์กรตระหนักว่าจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่าย แต่เพราะ 4 ปัจจัยดังที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้องค์กรมองไม่ออกว่าควรจะต้องลดตรงส่วนไหนบ้างถึงจะได้ผลลัพธ์ความเปลี่ยนแปลงที่ตรงตามต้องการ โดยมากแล้วองค์กรตัดสินใจใช้วิธีนำเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น นำโปรแกรมไอทีเข้ามาอยู่ในแผนปรับลดต้นทุน โดยคาดหวังว่าเทคโนโลยีไอทีจะสามารถเข้ามาทดแทนแรงงานได้ ซึ่งนั่นจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายพร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพการทำกำไรให้ธุรกิจไปด้วยในเวลาเดียวกัน แต่ทว่าในความเป็นจริงแล้ว หลายๆบริษัทกลับไม่เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนอย่างที่คาดหวังไว้
มองแบบ Bird’s Eye View และวิเคราะห์แบบ Insight
เมื่อการวิเคราะห์ปัญหาที่แท้จริงในธุรกิจให้ครอบคลุมทุกมิติเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ประกอบการ จึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยมุมมองจากภายนอกจากที่ปรึกษาทางธุรกิจ ซึ่งเป็นการมองจากมุมสูงอันจะช่วยทำให้สามารถมองเห็นปัญหาที่ซ่อนอยู่ในกระบวนการทำงานส่วนต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุม และจากประสบการณ์ที่ LiB Consulting เคยให้คำปรึกษาและได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ให้กับองค์กรภาคอุตสาหกรรมกรรมการผลิต ผ่านแนวทางและกระบวนการ Agile OpX มาพบว่ากระบวนการนี้สามารถช่วยให้การดำเนินการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในธุรกิจเกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจน สามารถวัดผลได้ ขณะเดียวกันก็จะได้ทราบข้อมูลและแนวทางที่เหมาะสมกับรูปแบบการดำเนินการขององค์กรในการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อทำกำไรให้ธุรกิจด้วย
โดย Agile OpX จะเป็นกระบวนการศึกษาประเมินภาพรวมและวิเคราะห์เชิงลึกใน Workflow การทำงานในทุกกระบวนการขององค์กร เพื่อให้มองเห็นปัญหาต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของกระบวนการทำงาน ซึ่งจะมีขั้นตอนอยู่ 4 ขั้นตอนนั่นคือ
- Visualization ประเมินภาพรวมและวิเคราะห์ Workflow ทั้งหมดของธุรกิจ ซึ่งจุดสำคัญ คือ การประเมินภาพรวมก่อน แล้วจึงมองแบบวิเคราะห์ให้ละเอียด โดยเฉพาะจุดที่ใช้แรงงานเยอะ
- Direction setting ออกแบบและกำหนดแนวทางในการปรับปรุง Workflow ให้กระบวนการทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจุดสำคัญ คือ การคิดจากผลลัพธ์ที่จะได้ว่าสร้าง Value มากแค่ไหนให้กับธุรกิจบ้าง และ Impact ของการลด Output แต่ละส่วนไปจะส่งผลมากน้อยเพียงใดกับธุรกิจ
- Implementation วิเคราะห์ความเป็นไปได้และประเมินถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจ เช่น รายได้หรือความพึงพอใจของลูกค้าที่จะเกิดขึ้น และวาง Roadmap การดำเนินการบริหารจัดการพร้อมกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน
- Manpower management ดำเนินการปรับปรุง Workflow ตามแนวทางที่กำหนดไว้ โดยเน้นการบริหารจัดการกำลังคนให้สมดุลและสอดคล้องไปกับกระบวนการทำงานใหม่ขององค์กร
ทั้ง 4 ขั้นตอนนี้จะสามารถช่วยองค์กรให้สามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในธุรกิจได้ โดยที่ประสิทธิภาพ คุณภาพและโอกาสในการทำกำไรของธุรกิจก็ยังคงดำเนินไปสู่เป้าหมายตามกระบวนการที่วางไว้ ซึ่งหลาย ๆ แผนการดำเนินงานนั้นองค์กรไม่จำเป็นต้องเพิ่มการลงทุนแต่อย่างใด
LiB กับการปลดล็อกประสิทธิภาพให้กับภาคการผลิตไทย
จากประสบการณ์ที่ LiB Consulting ได้นำกระบวนการ Agile OpX เข้าไปช่วยปรับปรุงวิธีดำเนินงานและการจัดการต่าง ๆ ภายในองค์กรธุรกิจภาคการผลิต ทุกองค์กรต่างพอใจกับผลลัพธ์ที่ได้ การลดต้นทุนธุรกิจเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำกำไรได้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยกรณีศึกษาที่น่าสนใจมีดังนี้
กรณีศึกษาที่ 1 โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และแม่พิมพ์โลหะ
โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และแม่พิมพ์โลหะแห่งหนึ่ง ได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของโควิด 19 ทำให้ประสบกับปัญหาการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง แม้จะเคยทำได้ดีและพยายามต่อสู้บริหารจัดการต้นทุนธุรกิจด้วยตนเองแล้ว เช่น ตัดสินใจ Layoff พนักงานในสายการผลิตถึง 40% หรือปรับลดโบนัสและสวัสดิการ แต่ทุก ๆ มาตรการที่ดำเนินการไปก็ได้ผลเพียง 2% ของยอดขายเท่านั้น ผู้บริหารจึงได้ตัดสินใจขอคำปรึกษากับ LiB Consulting เพื่อให้ LiB ช่วยทำให้การเปลี่ยนแปลงเพื่อลดค่าใช้จ่ายอย่างเร่งด่วน LiB ได้ใช้ Agile OpX เข้าไปประเมินปัญหาในภาพรวม และวิเคราะห์องค์กรในเชิงลึก โดยใช้วิธีการปรับโครงสร้างเชิงกลยุทธ์ใหม่ เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดการแข่งขันลดต้นทุนระหว่างแผนกและดำเนินการลดต้นทุนแบบ Quick win ไปพร้อมกับทีมของ LiB เพิ่ม Skill set กับ Challenging Mind ให้กับบุคลากรในองค์กร ซึ่งภายหลังจากดำเนินการทั้ง Project แล้ว โรงงานแห่งนี้สามารถลดต้นทุนได้ถึง 10% ของยอดขาย และยังช่วยลดการทำงานล่วงเวลา ลดจำนวนการใช้งานใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ในองค์กรไปได้มาก และแม้ 2 ปีหลังจากที่ Project จบไปแล้วโรงงานแห่งนี้ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายต้นทุนในธุรกิจลงได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนก Cost Management ที่คอยบริหารจัดการต้นทุนธุรกิจโดยเฉพาะ เพื่อควบคุมไม่ให้ต้นทุนปรับตัวสูงขึ้นมาอีกและสามารถที่จะฟื้นตัวกลับมาทำกำไรได้เหนือกว่าทุก ๆ สาขาโรงงานต่างประเทศ รวมถึงบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น
กรณีศึกษาที่ 2 โรงงานผลิตอาหาร
โรงงานผลิตอาหารแห่งหนึ่งของไทย ที่ธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องและสามารถสร้างรายได้ราว 2,000 ล้านบาท/ปี แม้จะทำรายได้ในธุรกิจได้สูง แต่ต้นทุนรายจ่ายในธุรกิจก็ถือว่าไม่น้อย ผู้บริหารองค์กรจึงมองว่าควรจะหาวิธีลดต้นทุนรายจ่ายในธุรกิจ ไปพร้อม ๆ กับการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดส่งออกด้วย จึงได้ขอคำปรึกษากับ LiB Consulting เพื่อให้ช่วยหาวิธีการลดต้นทุนธุรกิจ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้สามารถขยายไปยังตลาดต่างประเทศได้ LiB จึงเริ่มกระบวนการ Agile OpX ประเมินและวิเคราะห์ Workflow ของโรงงาน จนพบหลายส่วนมีความซ้ำซ้อน และสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อลดค่าใช้จ่ายให้กับธุรกิจได้ แบบ Quick win ซึ่งได้ดำเนินการทันที จึงลดค่าใช้จ่ายแรงงานได้ถึง 37.5% โดยไม่ต้องเพิ่มการลงทุน พร้อมกับออกแบบและวางแผนการดำเนินการระยะกลางถึงระยะยาวเพื่อปรับลดงานที่ซ้ำซ้อนและเพิ่ม Efficiency ตามด้วยการทำ Manpower management จนทำให้โรงงานผลิตอาหารแห่งนี้สามารถจัดสรรบุคลากรให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินงานในสายการผลิตขององค์กร ผลสุดท้ายของ Project คือ แผนการลดต้นทุนทั้งหมด เมื่อดำเนินการเสร็จจะลดได้กว่า 20 ล้านบาทต่อปี
วิธีการลดต้นทุนและการเพิ่มผลกำไรให้ธุรกิจที่องค์กรภาคการผลิตดำเนินการมาแต่เดิมนั้น อาจจะได้ผลในระดับหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่แล้วยังให้ผลลัพธ์ที่ยังไม่น่าพอใจ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเกือบทุกองค์กรสามารถที่จะลดต้นทุนและการเพิ่มผลกำไรให้ธุรกิจได้มากกว่าที่เป็นอยู่ได้ เพียงแต่อาจจะยังไม่ทราบแนวทางและวิธีการที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ซึ่งนั่นเท่ากับว่าองค์กรภาคการผลิตกำลังพลาดโอกาสในการปรับปรุงเพื่อขยายศักยภาพธุรกิจไปอย่างน่าเสียดาย หากว่าคุณต้องการปลดล็อกแนวทางลดต้นทุนและทำกำไรเพิ่มอย่างได้ผล กระบวนการ Agile OpX จาก LiB Consulting เป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ สิ่งนี้อาจเป็นกุญแจสำคัญที่พาธุรกิจของคุณให้ก้าวต่อไปในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์อย่างมั่นคง