Toyota ร่วมกับห้องปฏิบัติการแห่งชาติ Argonne เพื่อตรวจสอบการรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน

Toyota Motor (อเมริกาเหนือ) ประกาศลงนามในข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา (CRADA) กับ Argonne National Laboratory กระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกา เพื่อตรวจสอบการพัฒนากระบวนการรีไซเคิลโดยตรง (direct recycling process) สำหรับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่หลายในรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ โดยมุ่งการวิจัยไปที่คุณสมบัติทางเคมีของแคโทดที่ทำจากนิกเกิล แมงกานีส และโคบอลต์

Toyota Motor (อเมริกาเหนือ) และห้องปฏิบัติการแห่งชาติ Argonne สหรัฐอเมริกา ร่วมมือกันตรวจสอบการพัฒนากระบวนการรีไซเคิลโดยตรงสำหรับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน

สำหรับโครงการนี้ โตโยต้าจะจัดหาแบตเตอรี่ที่หมดอายุการใช้งานแล้วและแบตเตอรี่ใหม่ของโตโยต้าให้กับ Argonne โดย Argonne จะปรับใช้และทดสอบกระบวนการรีไซเคิลโดยตรงสำหรับแบตเตอรี่ ซึ่งอยู่ระหว่างการจดสิทธิบัตร นอกจากนี้ สถาบันวิจัยโตโยต้าแห่งอเมริกาเหนือ (TRINA) ซึ่งเป็นหน่วยเฉพาะภายในของ Toyota ซึ่งทำหน้าที่สำรวจเทคโนโลยีสำหรับยุคหน้า จะเป็นผู้ให้ข้อแนะนำในการตรวจยืนยันผลการศึกษา “การพิสูจน์แนวคิด” นี้

โครงการความร่วมมือกับ Argonne เป็นส่วนหนึ่งในความมุ่งมั่นของ Toyota ในการออกแบบระบบนิเวศแบตเตอรี่แบบวงปิด โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความยั่งยืนสูงสุด ทั้งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2558 โตโยต้าได้ประกาศความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับปี พ.ศ. 2593 เป็นการตั้งเป้าหมายสู่การบรรลุผลความเป็นกลางทางคาร์บอนตลอดวงจรชีวิตของรถยนต์รถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าภายในปี พ.ศ. 2593 ซึ่งรวมถึงการรีไซเคิลแบตเตอรี่ ไม่ว่าจะหลังจากที่ใช้งานครั้งแรก หรือหลังจากนำกลับมาใช้ในจุดประสงค์ใหม่หรือนำมาปรับแต่งใหม่ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า วัตถุดิบได้ถูกสกัดและถูกนำกลับเข้าสู่กระบวนการผลิต

Nik Singh นักวิทยาศาสตร์อาวุโส แผนกวิจัยวัสดุของสถาบันวิจัยโตโยต้าแห่งอเมริกาเหนือ (TRINA) กล่าวว่า — “การที่ Argonne ใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่เชิงพาณิชย์ของเรา จะช่วยให้เราประเมินกระบวนการรีไซเคิลโดยตรงในระดับอุตสาหกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีการรีไซเคิลแบตเตอรี่อื่นๆ เพื่อคงไว้เป็นทางเลือกในการรีไซเคิลด้วยวิธีที่แตกต่างกันสำหรับแพลตฟอร์มแบตเตอรี่และเคมีภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย” “โตโยต้าอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมือนใครในการเชื่อมโยงแง่มุมต่างๆ ของการวิจัยขั้นพื้นฐานเข้ากับการประเมินผลิตภัณฑ์ การพัฒนา และการจำหน่าย เพื่อช่วยให้การผลิตแบตเตอรี่ในสหรัฐฯ บรรลุผลการหมุนเวียนที่ดีขึ้น และเพิ่มความมั่นคงของห่วงโซ่อุปทาน”

Sarah Kennedy ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ ทีมพัฒนาธุรกิจด้านวิธีการวงจรชีวิตแบตเตอรี่ของโตโยต้า กล่าวว่า — “ตามการคาดการณ์ในเบื้องต้น การรีไซเคิลโดยตรงมีศักยภาพที่จะทำให้ประหยัดต้นทุนและลดร่องรอยคาร์บอนได้อย่างมีนัยสำคัญ” “หน่วยงานด้านวิธีการวงจรชีวิตแบตเตอรี่ของโตโยต้า จะช่วยพิสูจน์ถึงแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ในอนาคต โดยรอผลตามข้อตกลง CRADA เนื่องจากโครงการนี้คาดว่าจะช่วยปรับปรุงต้นทุนการผลิตวัสดุแบตเตอรี่ ลดของเสีย และร่องรอยคาร์บอนให้ดียิ่งขึ้น”

ที่มา: Toyota Motor North America

About pawarit

Check Also

CATL เผย จีนกำลังเร่งผลักดันแบตเตอรี่ EV แบบ Battery-Swapping ภายในปี 2025

ถ้ามีสถานีหรือจุดบริการสำหรับเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าแบบ Swapping ที่สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ภายใน 5 นาที มันจะกลายเป็นประเด็นสำคัญอย่างแน่นอน เนื่องจากเวลาในการชาร์จยังคงเป็นประเด็นที่ผู้ซื้อรถ EV ยังกังวล แม้แต่หัวชาร์จแบบ Super Charge ที่เร็วที่สุดก็อาจใช้เวลาอย่างน้อยราว 15 นาทีในการชาร์จให้เต็ม

เป๊ปซี่โคชวนสตาร์ทอัพไทยเข้าร่วมโปรแกรม Greenhouse Accelerator ครั้งที่ 3: เปิดเส้นทางสู่ความยั่งยืนสำหรับนักสร้างสรรค์นวัตกรรม

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย (9 มกราคม 2568) – เป๊ปซี่โค (PepsiCo) ผู้นำระดับโลกด้านอาหารและเครื่องดื่ม ประกาศเปิดตัวโครงการ Greenhouse Accelerator (GHAC) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่จัดขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่สาม …