InfoLink Consulting บริษัทที่ปรึกษาด้านการวิจัยพลังงานทดแทนชั้นนำระดับโลก เผยแพร่เอกสารปกขาว “On the Road to Net Zero” หัวข้อ “Powering a Green Future: A Forecast to 2030 for Solar, Wind, and Energy Storage” โดยเสนอเนื้อหาด้วยการเปรียบเทียบต้นทุนของพลังงานหมุนเวียนและพลังงานดั้งเดิม การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบาย และการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์-อุปทานและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี InfoLink ทำให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับจังหวะและภูมิทัศน์ของการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานทั่วโลก

จากอัตราการเติบโตทบต้นต่อปีโดยประมาณที่ 2.5% ของความต้องการไฟฟ้าทั่วโลกภายในปี ค.ศ. 2050 และ 26,937 TWh ของความต้องการไฟฟ้าในปี 2019 โลกจำเป็นต้องลดคาร์บอนไดออกไซด์ 88.8 พันล้านเมตริกตัน และ 207.6 พันล้านเมตริกตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ ตามลำดับ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของ “การจำกัดอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นให้ต่ำกว่า 2°C เหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม” และ “ความพยายามในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิให้เหลือ 1.5°C ภายในปี 2030” ภายใต้ข้อตกลงปารีส
ปัจจุบัน การผลิตไฟฟ้ามีสัดส่วนประมาณ 30% ของการปล่อยคาร์บอนทั้งหมด ดังนั้นเพื่อจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 2°C และ 1.5°C โลกจะต้องสะสมกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนมากกว่า 3,400 GW และ 6,800 GW ภายในปี 2030 ตามลำดับ
ในปี 2022 มีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ (PV) สะสมถึง 1 TW โดยได้รับแรงหนุนจากการรับรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านพลังงานและความก้าวหน้าในเทคโนโลยี PV ในขณะที่ห่วงโซ่อุปทาน PV กำลังเข้าสู่ช่วงอื่นของอุปทานส่วนเกิน ต้นทุนการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์จะลดลงอย่างมากในช่วงปี 2023 และ 2024 เป็นแรงผลักดันให้กำลังการผลิตไฟฟ้าหมุนเวียนสะสมเติบโตในแต่ละปี โดยคาดว่าจะสูงถึง 6 TW ภายในปี 2030 ส่วนกำลังไฟฟ้าจากลม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังลมนอกชายฝั่ง แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการลดต้นทุนได้อีก ผลที่ได้เหล่านี้ ก็ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ต้นทุนการกักเก็บพลังงานจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากผู้ผลิตเซลล์แบตเตอรี่ระหว่างประเทศต่างขยายกำลังการผลิต โดยปัจจุบันนี้ เซลล์แบตเตอรี่ คือ ต้นทุนส่วนใหญ่ของต้นทุนการผลิตทั้งหมดของระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) และความต้องการเซลล์แบตเตอรี่จำนวนมากของภาค EV ทำให้ราคาเซลล์แบตเตอรี่สูงขึ้น นอกจากนี้ ในช่วงปี 2028-2029 พลังแสงอาทิตย์+ระบบกักเก็บ และพลังลม+ระบบกักเก็บ จะก้าวขึ้นไปสร้างดุลภาพในโครงข่ายไฟฟ้า
ในปี 2022 การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์และจากพลังลม จะมีกำลังผลิตสะสมรวมกันถึง 2 TW โดย InfoLink ประมาณการว่า โลกจะมีพลังงานหมุนเวียนสะสมมากกว่า 9,000 GW ภายในปี 2030 ซึ่งถ้าหากภาคการขนส่งเปลี่ยนไปใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมต่างๆ ค่อยๆ แทนที่ถ่านหินด้วยไฟฟ้า การเติบโตของความต้องการไฟฟ้าอาจเพิ่มขึ้น 4% ถึง 5% ดังนั้นจึงมีความจำเป็นสำหรับโลกที่จะต้องลดต้นทุนของพลังงานหมุนเวียน พร้อมกับความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมาย
ที่มา: InfoLink Consulting