ประเทศไทยเตรียมเก็บภาษีคาร์บอนกับ 3 ภาคเศรษฐกิจหลัก

กรมสรรพสามิตเตรียมเก็บภาษีคาร์บอนในภาคพลังงาน การขนส่ง และอุตสาหกรรม เพื่อช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2563 รวมทั้งลดต้นทุนการนำเข้าเชื้อเพลิง

Image Credit : nbcnews

“ภาษีคาร์บอนจะกระตุ้นให้บริษัทต่างๆ หันมาใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้ถึง 30%” คุณณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง กล่าว

คุณณัฐกร ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับภาษีว่าจะดำเนินการเมื่อใด โดยกล่าวเพียงว่าการศึกษาภาษีอยู่ในระหว่างการดำเนินการและจะเสร็จสิ้นในปีนี้ ซึ่งสหภาพยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกากำลังศึกษาเรื่องภาษีคาร์บอนเช่นกัน

  • ภาคพลังงานคิดเป็น 35% ของการปล่อย CO2 ในประเทศไทย เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน
  • ภาคการขนส่งคิดเป็น 32%
  • ภาคอุตสาหกรรม 27%
  • ภาคครัวเรือน 6%”

คุณณัฐกร กล่าวว่า “ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับต้นทุนการนำเข้าเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นหากไม่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์”

นอกจากนี้ ประเทศผู้ส่งออกจะต้องลดการปล่อยก๊าซ CO2 เมื่อยุโรปกำหนดกลไกการปรับพรมแดนคาร์บอนในเดือนตุลาคม 2566 กับสินค้า 7 รายการที่นำเข้ามาเข้ากลุ่ม

ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2569 กลไกดังกล่าวจะกำหนดให้บริษัทต่างๆ ต้องรายงานการปล่อยก๊าซ CO2 ของตนทุกปี รวมถึงสินค้าที่นำเข้า หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้เสียภาษีสูงขึ้น

ประเทศไทยกำลังส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า การใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น และภาษีคาร์บอนเพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม

คุณรสลินด์ อมรพิทักษ์พันธุ์ ผู้อำนวยการกองประสานงานและจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวว่า “มาตรการภาษีคาร์บอนและการค้าคาร์บอนเครดิตของประเทศควรรวมอยู่ในพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงแผนปฏิบัติการเพื่อลดการปล่อยก๊าซ CO2 ในภาคพลังงาน การขนส่ง และอุตสาหกรรม”

“สิ่งนี้จะช่วยให้ประเทศไทยเตรียมพร้อมสำหรับเวทีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำลังจะมีขึ้น” คุณรสลินด์ กล่าวโดยอ้างถึงการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 28 ในเดือนพฤศจิกายนที่ดูไบ

กองประสานและจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหน่วยงานหนึ่งของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำลังเร่งศึกษาเทคโนโลยีการดักจับและจัดเก็บคาร์บอน ในขณะที่การซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่เกี่ยวข้องกับรถโดยสารไฟฟ้ากับสวิตเซอร์แลนด์กำลังดำเนินการอยู่

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ที่จัดตั้งขึ้นใหม่คาดว่าจะมีบทบาทสำคัญในความพยายามของประเทศไทยในการลดการปล่อย CO2

ที่มา : INQUIRER.NET

About pawarit

Check Also

แม็คโคร ปักหมุดผู้นำธุรกิจค้าส่งรักษ์สิ่งแวดล้อม จับมือผู้ผลิตรถ EV ระดับโลกปล่อยขบวนเดลิเวอรี่พลังงานสะอาด ตั้งเป้าใช้รถ EV กว่า 300 คัน ในอีก 3 ปี

แม็คโคร เร่งเครื่องสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2030 ประกาศแผนใช้รถเดลิเวอรี่พลังงานสะอาดกว่า 300 คัน โดยจับมือ “ซีพี โฟตอน” นำร่องใช้รถ EV ให้บริการในธุรกิจ …

Meet Zeigo ชุดนวัตกรรมซอฟต์แวร์วิธีการสร้างความยั่งยืน ในแบบ SaaS ของ Schneider Electric เพื่อขับเคลื่อนการลดคาร์บอน

Schneider Electric (ชไนเดอร์ อิเล็คทริค) หนึ่งในผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลสำหรับการจัดการพลังงานและระบบอัตโนมัติ ประกาศเปิดตัว Zeigo™ ซึ่งเป็นระบบนิเวศซอฟต์แวร์สร้างความยั่งยืน สร้างขึ้นเพื่อลดความซับซ้อนและเร่งดำเนินการด้านสภาพอากาศสำหรับบริษัททุกขนาด Zeigo เข้ามาสร้างความสมบูรณ์ในการให้คำปรึกษาด้านการสร้างความยั่งยืนที่มีอยู่ของ Schneider Electric และปรับปรุงวิธีการทางดิจิทัลที่เป็นหลักทรัพย์ในการครอบครองขององค์กรต่างๆ ที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง