Siemens และ Microsoft ร่วมมือกันเพื่อขับเคลื่อนการนำ AI ไปใช้ในอุตสาหกรรม

Microsoft และ Siemens กำลังกระชับความร่วมมือกัน เพื่อนำประโยชน์ของ Generative AI ไปสู่อุตสาหกรรมทั่วโลก โดยในขั้นแรกจะเปิดตัว Siemens Industrial Copilot ซึ่งเป็นผู้ช่วยที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่ทั้งสองบริษัทพัฒนาขึ้นมาร่วมกัน มีเป้าหมายเพื่อนำไปปรับปรุงการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรในการผลิต

นอกจากนี้ ยังเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่มาจากการบูรณาการระหว่าง ซอฟต์แวร์ Siemens Teamcenter ที่ใช้สำหรับการจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ และ Microsoft Teams ที่ปูทางไปสู่ความสามารถในการใช้งานในโลกเมตาเวิร์สทางอุตสาหกรรม โดยจะช่วยลดความซับซ้อนในการทำงานร่วมกันแบบเสมือนจริงของวิศวกรออกแบบ พนักงานที่อยู่แนวหน้า และทีมงานอื่นๆ ทั่วทั้งสายงานธุรกิจ

Satya Nadella ประธานและซีอีโอของ Microsoft กล่าวว่า — “ด้วย AI ยุคต่อไป ทำให้เรามีโอกาสพิเศษในการเร่งสร้างนวัตกรรมไปทั่วทั้งภาคอุตสาหกรรม” “เรากำลังต่อยอดความร่วมมือที่มีมาอย่างยาวนานกับ Siemens และนำความก้าวหน้าด้าน AI จาก Microsoft Cloud มาประสานเข้ากับความเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมของ Siemens เพื่อเสริมศักยภาพทั้งบุคลากรแนวหน้าและพนักงานที่มีความรู้ ด้วยเครื่องมือใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วย AI โดยเริ่มจาก Siemens Industrial Copilot”

Roland Busch ซีอีโอของ Siemens AG กล่าวว่า — “ด้วยวิสัยทัศน์ร่วมกันกับ Microsoft เป็นการเสริมศักยภาพให้กับลูกค้าโดยการนำ AI มาใช้” “สิ่งนี้มีศักยภาพที่จะทำให้เกิดการปฏิวัติของบริษัทต่างๆ ทั้งวิธีการออกแบบ การพัฒนา การผลิต และการดำเนินการ การทำให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรให้แพร่หลายยิ่งขึ้นนั้น จะช่วยให้วิศวกรสามารถเร่งการพัฒนาโค้ด เพิ่มนวัตกรรม และรับมือกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ”

ยุคใหม่ของการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร

Siemens Industrial Copilot จะช่วยให้ผู้ใช้สร้างโค้ดโดยอัตโนมัติได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพ และแก้ไขโค้ด และเวลาที่ใช้ในการจำลองยังลดลงอย่างมาก โดยวิธีนี้จะลดเวลางานจากเมื่อก่อนต้องใช้เวลานานนับสัปดาห์ให้เหลือเป็นนาที ผู้ช่วยในแบบ AI นี้จะนำข้อมูลการจำลองกระบวนการและระบบอัตโนมัติมาจาก Siemens Xcelerator ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิทัลแบบเปิดของ Siemens และยกระดับความสามารถเพิ่มขึ้นอีกด้วย Azure OpenAI Service ของไมโครซอฟต์ โดยลูกค้าจะยังคงควบคุมข้อมูลของตนได้อย่างเต็มที่ และไม่ได้มาแอบแฝงเพื่อนำไปใช้ฝึกโมเดล AI

Siemens Industrial Copilot เป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ถึงการเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพไปตลอดวงจรชีวิตอุตสาหกรรม ซึ่งการใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาตินั้น จะช่วยให้ฝ่ายงานบำรุงรักษา ได้รับการช่วยเหลือด้วยคำแนะนำในการซ่อมอย่างละเอียด และยังช่วยให้วิศวกรเข้าถึงเครื่องมือจำลองได้อย่างรวดเร็ว

การเป็นผู้ช่วยในทุกอุตสาหกรรม

บริษัททั้งสองมองไปที่บทบาทของผู้ช่วยแบบ AI ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในโรงงานผลิต โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการดูแลสุขภาพ โดยมีการจัดทำแผนให้มีผู้ช่วยจำนวนมากเข้าไปอยู่ในภาคการผลิตต่างๆ เช่น ยานยนต์ สินค้าบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค และการสร้างเครื่องจักร

Schaeffler AG ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ชั้นนำในอุตสาหกรรมรถยนต์ และเป็นหนึ่งในบริษัทแรกๆ ในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใช้ Generative AI ในขั้นตอนทางวิศวกรรม ซึ่งจะช่วยให้วิศวกรสามารถสร้างโค้ดที่เชื่อถือได้สำหรับการสร้างโปรแกรมระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม เช่น หุ่นยนต์ นอกจากนี้ บริษัทมีความตั้งใจที่จะรวม Siemens Industrial Copilot เข้าไปไว้ในขั้นตอนการดำเนินงานของพวกเขาเอง โดยมุ่งไปที่การลดเวลาหยุดทำงานของเครื่องจักร และยังวางเป้าหมายไปที่ลูกค้าของพวกเขาในภายหลังจากนี้อีกด้วย

Klaus Rosenfeld ซีอีโอ Schaeffler Group กล่าวว่า — “ด้วยการทำงานร่วมกันกับผู้ช่วยนี้ นั่นคือ เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการสร้างผลิตภาพและนวัตกรรม Siemens Industrial Copilot จะช่วยให้ทีมของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดงานซ้ำซ้อน และปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมมือกับ Siemens และ Microsoft ในโครงการนี้”

Generative AI เป็นประโยชน์ต่อการทำงานร่วมกันแบบเสมือน

เพื่อยกระดับการทำงานร่วมกันแบบเสมือนระหว่างทีมต่างๆ Teamcenter ของ Siemens ซึ่งจัดเตรียมไว้สำหรับ Microsoft Teams จะพร้อมใช้งานสำหรับผู้ใช้โดยทั่วไปได้ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งซอฟต์แวร์การใช้งานใหม่นี้ได้นำเอาความก้าวหน้าล่าสุดจาก Generative AI มาใช้เพื่อเชื่อมต่อฟังก์ชันต่างๆ ตลอดทั้งการออกแบบผลิตภัณฑ์และวงจรการผลิต รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานแนวหน้า ไปจนถึงทีมงานทางวิศวกรรม โดยจะเชื่อมต่อซอฟต์แวร์ Teamcenter สำหรับการจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (PLM) เข้ากับ Teams ที่เป็นแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกันของ Microsoft เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้นทั้งจากพนักงานในโรงงานและภาคสนาม ด้วยวิธีการนี้จะช่วยให้พนักงานหลายล้านคนที่ทุกวันนี้ยังไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือ PLM ได้ สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตและการออกแบบได้ง่ายขึ้นเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำวันของพวกเขา

ที่มา: Siemens Digital Industries Software

About pawarit

Check Also

‘แพลตฟอร์มรักเหมา’ ฉลองครบ 2 ปี เดินหน้าขยายเครือข่ายร้านค้า พัฒนาระบบเพื่อผู้รับเหมาทั่วประเทศ

จะดีแค่ไหนถ้าผู้รับเหมาสามารถจัดซื้อวัสดุก่อสร้างได้อย่างง่ายดายเพียงปลายนิ้วคลิก ‘แพลตฟอร์มรักเหมา’ แพลตฟอร์มจัดซื้อวัสดุก่อสร้างออนไลน์ ที่พร้อมช่วยเหลือผู้รับเหมาและฝ่ายจัดซื้อวัสดุก่อสร้างอย่างเข้าใจ โดยช่วยให้เข้าถึงร้านค้าวัสดุก่อสร้างกว่า 320  ร้านค้าทั่วไทย ซึ่งล่าสุดได้ฉลองครบรอบ 2 ปี จัดโปรโมชันภายใต้แคมเปญ “แจกสู้ทุกสังเวียนวัสดุก่อสร้าง” พร้อมพัฒนาระบบเพื่อยกระดับงานจัดซื้ออย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

อย่าพลาด! สมัครเข้าร่วมโครงการ AWS Lift และรับ Credit ใช้งาน AWS ฟรี ตั้งแต่ 27,000 บาทถึง 3,000,000 บาทได้แล้ววันนี้!

ข่าวดีสำหรับธุรกิจองค์กรไทย, บริษัท Systems Integrator และบริษัท Software House เมื่อ AWS ได้จัดโครงการ AWS Lift ที่จะแจก Credit สำหรับการใช้งานบริการ …