Schneider Electric และ Saint-Gobain ร่วมกันเริ่มขับเคลื่อนนวัตกรรมการผลิตกระจกแก้วแบบอัตโนมัติที่ชาญฉลาดและปลอดภัยยิ่งขึ้น

Schneider Electric ผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในด้านการจัดการพลังงานและการอัตโนมัติ และ Saint-Gobain ผู้นำด้านการก่อสร้างแบบเบาและยั่งยืน ได้ร่วมมือกันเพื่อจัดวางระบบอัตโนมัติที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์เป็นครั้งแรกสำหรับกระบวนการผลิตกระจกแก้ว

โครงการนี้เปิดตัวที่งาน Glasstec 2024 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าชั้นนำของโลกด้านอุตสาหกรรมกระจกแก้ว โดยนวัตกรรมนี้มุ่งตอบสนองความต้องการอย่างเร่งด่วนในการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับกระบวนการ lehr (เตาอบแก้วแบบเคลื่อนที่เป็นแนวยาวด้วยสายพานต่อเนื่อง) ซึ่งเตาเผามีความสำคัญต่อการอบและหล่อเย็นให้กับกระจกแบน โดยเตาเผาจะมีอายุการใช้งาน 15 ถึง 20 ปี

อย่างไรก็ตาม การหยุดทำงานนอกแผนใดๆ ในกระบวนการจะทำให้การผลิตหยุดชะงักโดยสมบูรณ์ ดังที่มีการศึกษาในอุตสาหกรรม หากเกิดไฟฟ้าขัดข้องเพียง 1 นาที อาจนำไปสู่การสูญเสียทางการผลิตนานถึง 6 เดือน และมักจะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ และอาจมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 200,000 ยูโรต่อวัน (ประมาณ 7.4 ล้านบาทต่อวัน)

Saint-Gobain และ Schneider Electric ร่วมกันพัฒนาวิธีการอัตโนมัติแบบเปิดสำหรับกระบวนการ lehr โดยใช้วิธีการพิสูจน์แนวคิด (Proof of Concept หรือ POC) ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติแบบเปิดของ Schneider Electric ที่เรียกว่า EcoStruxure Automation Expert (EAE) ซึ่งมีการแยกฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ออกจากกัน ทำให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างอิสระผ่านเลเยอร์สถาปัตยกรรมต่างๆ โดยไม่ต้องคำนึงถึงผู้ผลิต

โครงการนี้ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตกระจกแก้ว โดย EAE จะทำให้มีความสามารถในการขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติ และถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญสำหรับปัญญาประดิษฐ์แบบกระจาย โดยชุดขับแบบสมาร์ทจะควบคุมมอเตอร์สำหรับดึงกระจกแก้ว 2 ตัว ช่วยให้การทำงานและการตัดสินใจเกี่ยวกับกระบวนการที่สำคัญในระดับอุปกรณ์เป็นไปโดยอัตโนมัติ รวมทั้งการตัดสินใจว่ามอเตอร์ตัวใดจะดึงกระจกแก้ว การตรวจสอบคุณภาพ และการปูทางไปสู่การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์

สิ่งสำคัญของวิธีการนี้ก็คือ การออกแบบให้เป็นมอดูล จึงทำให้ง่ายต่อการนำไปจัดวางระบบได้ทั่วโลก สามารถติดตั้งใช้งานร่วมกันในแบบปลั๊กแอนด์เพลย์ จึงช่วยลดเวลาในการออกแบบ การทดสอบ และการใช้งานระบบได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ด้วยความสามารถในการปรับขนาดเชิงระบบ ทำให้บริษัทก่อสร้างรับถึงมูลค่าจริงได้ที่ไซต์งาน และมองเห็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นแบบทวีคูณได้ครอบคลุมทั่วโลก

Alex Richards รองประธาน EMEA ฝ่ายเหมืองแร่และโลหะของ Schneider Electric กล่าวว่า — “ความเข้าใจของเราเกี่ยวกับกระบวนการกระจกแก้วแบบลอยตัวได้นำไปสู่วิธีการอันล้ำสมัยที่ให้ความมั่นใจทั้งความเชื่อถือได้ ความปลอดภัย และผลิตภาพ โดยเทคโนโลยีขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติทำให้ตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด วิธีการนี้ยังสร้างให้เป็นมอดูล และทำให้เป็นมาตรฐานในตัว จึงสามารถปรับขนาดของระบบได้ทันที ให้ความยืดหยุ่นมากขึ้น และมีความเชื่อถือได้ วิธีการนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทของเราในด้านนวัตกรรม และเป็นข้อพิสูจน์ถึงศักยภาพในการขยายเทคโนโลยีนี้ไปทั่วอุตสาหกรรม”

ที่มา: Schneider Electric

About pawarit

Check Also

Mitsubishi Electric ประเทศไทย รวมพลังความร่วมมือสร้างเครือข่าย ECOSYSTEM เพื่อก้าวสู่ Net Zero อย่างยั่งยืน

Mitsubishi Electric ประเทศไทย จัดงาน Sustainable Building Collaboration 2024 พร้อมประกาศความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เดินหน้าสร้างอีโคซิสเตม (Ecosystem) ตอบโจทย์เทรนด์ “อาคารสีเขียว” ด้วยโซลูชันและผลิตภัณฑ์อัจฉริยะครบวงจรจาก Mitsubishi …

ฮันนี่เวลล์ เปิดตัว AI-Mobile Computer พร้อมกัน 3 รุ่นครั้งแรกในไทย ในงาน Honeywell Partner Insight 2024 ที่พัทยา จ.ชลบุรี

Honeywell Thailand ประกาศเปิดตัว AI-Mobile Computer ครั้งแรกในไทยพร้อมกัน 3 รุ่น ได้แก่ CT37, CK67 และ CK62 ฮาร์ดแวร์แบบพิเศษที่ถูกออกแบบมาให้สามารถประมวลผลด้าน AI …