สะเทือนวงการ… Philips Lighting ถูกสั่งให้เรียกคืนสินค้าที่มีอายุย้อนไป 7 ปี ในคดีฟ้องร้องของ Seoul Semiconductor

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ศาลแขวงเยอรมันแห่งดุสเซลดอร์ฟ ได้ตัดสินให้บริษัท Seoul Semiconductor เป็นฝ่ายชนะคดีละเมิดสิทธิบัตร และสั่งให้เรียกคืนและทำลายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดย Philips Lighting และรวมทั้งที่มีจำหน่ายมาตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 นอกจากนี้ ศาลยังตัดสินให้ปรับเงินสูงสุด 250,000 ยูโร (ประมาณ 8.87 ล้านบาท) จากการละเมิดคำสั่งนี้แต่ละครั้ง และเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ศาลสิทธิบัตรแห่งสหพันธ์เยอรมันได้ยืนยันความถูกต้องของสิทธิบัตรเหล่านี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของสิทธิบัตรที่สัมพันธ์กันหลายฉบับ

คำสั่งศาลเหล่านี้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลักที่ใช้เพื่อให้ได้ค่าดัชนีการแสดงสี CRI 70 (Color Rendering Index 70%) หรือค่าที่สูงกว่า ซึ่งมีการใช้ทั้งไฟส่องสว่างภายในบ้าน ไฟส่องสว่างของรถยนต์ ไฟแฟลชด้านไอที และไฟแบ็คไลต์ทั้งหมด จากผลจากการตัดสินดังกล่าว ยังสามารถนำไปใช้ฟ้องร้องได้กับผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่มีการละเมิดสิทธิบัตรเทคโนโลยีได้ จึงคาดว่าจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อตลาดสินค้าสำเร็จรูปที่มีมูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3.4 ล้านล้านบาท) และตลาดบรรจุภัณฑ์ในภาคส่วนแสงสว่าง ยานยนต์ และไอทีมากกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3.4 แสนล้านบาท)

แบรนด์ Philips Lighting (ปัจจุบัน คือ Signify Group) เป็นบริษัทด้านแสงสว่างชั้นนำของโลก มีรายได้ประจำปี พ.ศ. 2566 ประมาณ 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.38 แสนล้านบาท) โดยมีคำสั่งศาลให้ Conrad Electronic ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายทั่วโลกที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล่านี้ หยุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์บางรายการที่ผลิตโดยบริษัทในเครือของแบรนด์ Philips Lighting ทันที และสั่งให้เรียกคืนและทำลายผลิตภัณฑ์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งจำหน่ายในตลาดมาตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560

นอกจากนี้ ศาลยังตัดสินด้วยว่า จะต้องจ่ายค่าปรับสูงสุด 250,000 ยูโร ต่อการละเมิดแต่ละครั้งสำหรับการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งถือเป็นมาตรการลงโทษที่รุนแรงเพื่อป้องกันไม่ให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวขึ้นอีก คำสั่งศาลเหล่านี้บังคับใช้กับผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่มีค่า CRI 70 ขึ้นไป ซึ่งไม่ใช่แค่ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยบริษัทในเครือของแบรนด์ Philips Lighting เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการที่ Seoul Semiconductor เอาชนะคดีฟ้องร้องที่ Philips Lighting ยื่นฟ้องเพื่อขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรได้ ทำให้เทคโนโลยีสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องของ Seoul Semiconductor มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา Seoul Semiconductor ได้ดำเนินการตามวิสัยทัศน์ “สะอาด มีสุขภาพดี และสวยงามด้วยแสง” โดยมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแนวคิดจากแสงเทียมที่เป็นอันตรายไปสู่แสงจากธรรมชาติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ บริษัทได้ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเกือบ 100 ล้านดอลลาร์ต่อปี หรือประมาณ 10% ของรายได้ ด้วยเหตุนี้ Seoul Semiconductor จึงถือครองสิทธิบัตรอิเล็กทรอนิกส์ทางแสงมากกว่า 18,000 ฉบับในอุตสาหกรรม LED และได้ร่วมมือกับ Mitsubishi Chemical Corporation (MCC) เป็นเวลาหลายปีในการวิจัยและพัฒนาร่วมกันเพื่อปรับปรุงค่า CRI

Chung Hoon Lee ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Seoul Semiconductor กล่าวว่า “การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาก่อให้เกิดความหงุดหงิดในหมู่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่และบริษัทที่สร้างสรรค์นวัตกรรม” “การลงทุนของเราในการป้องกันการโจรกรรมเทคโนโลยีช่วยสร้างตลาดที่ยุติธรรมยิ่งขึ้น และส่งเสริมให้คนหนุ่มสาวและบริษัทต่างๆ ทั่วโลกสร้างสรรค์นวัตกรรมต่อไป ช่วยให้เราทุกคนมีส่วนสนับสนุนให้โลกดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจหลักสามประการของบริษัทของเรา ได้แก่ เกียรติยศ ความไว้วางใจ และการมีส่วนสนับสนุน”

ที่มา: Seoul Semiconductor

About pawarit

Check Also

“LIMAZ” ระบบสายสัญญาณเน็ตเวิร์กคุณภาพสูง แบรนด์คนไทย มาตรฐานระดับสากล โดย 9D

LIMAZ (ลิมัซ) ผลิตภัณฑ์ระบบสายสัญญาณเน็ตเวิร์กคุณภาพสูง (Network Infrastructure System) แบรนด์คนไทย มาตรฐานสากล รับประกัน 25 ปี เหมาะกับผู้ใช้งานทั่วไป จนถึงงานระดับดาต้าเซ็นเตอร์ (Data Center)

UL Solutions ประกาศโครงการทดสอบภาคสนามสำหรับเคเบิลไฟฟ้าแรงดันปานกลาง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบโครงข่ายกำลังไฟฟ้า

UL Solutions ผู้นำระดับโลกในการประยุกต์ทางวิทยาศาสตร์ด้านความปลอดภัย ประกาศโครงการทดสอบภาคสนามสำหรับเคเบิลไฟฟ้าแรงดันปานกลาง เพื่อช่วยให้ผู้ผลิตสายไฟฟ้า (wire) และเคเบิลไฟฟ้า (cable) สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดของตลาดโลก และยกระดับความปลอดภัยของระบบเคเบิล