LG เร่งเข้าสู่ธุรกิจวิธีการโรงงานอัจฉริยะ โดยผสาน AI เข้ากับความเชี่ยวชาญด้านการผลิตทางอุตสาหกรรมกว่า 66 ปี

LG Electronics (LG) ประกาศการเร่งเข้าสู่ธุรกิจวิธีการโรงงานอัจฉริยะ ด้วยการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (DX) มารวมเข้ากับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญการผลิตทางอุตสาหกรรมที่มีมานานนับ 66 ปี

LG ACCELERATES SMART FACTORY SOLUTIONS BUSINESS INTEGRATING AI WITH 66-YEAR MANUFACTURING EXPERTISE

เมื่อต้นปีนี้ LG ได้ก้าวเข้าสู่ตลาดวิธีการโรงงานอัจฉริยะอย่างเป็นทางการ โดยสถาบันวิจัยวิศวกรรมการผลิต (PRI) ได้เพิ่มขีดความสามารถทางการผลิตและการแข่งขันด้านการผลิตอุตสาหกรรมให้กับกลุ่มบริษัท LG อีกทั้ง PRI กำลังขยายความเชี่ยวชาญไปยังลูกค้าภายนอก โดยเสนอบริการต่างๆ ทั้งการให้คำปรึกษาด้านการผลิต การพัฒนาอุปกรณ์และระบบปฏิบัติการ และฝึกอบรมบุคลากรด้านเทคโนโลยี

PRI คาดว่าจะได้รับคำสั่งซื้อวิธีการโรงงานอัจฉริยะจากลูกค้าภายนอกด้วยมูลค่าประมาณ 200,000 ล้านวอน (≈5,200 ล้านบาท) โดยมีกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ ได้แก่ ผู้ผลิตแบตเตอรี่สำรอง ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และบริษัทด้านโลจิสติกส์

LG วางแผนที่จะขยายธุรกิจไปยังอุตสาหกรรมที่โรงงานเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น เซมิคอนดักเตอร์ ยา เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหารและเครื่องดื่ม โดยมีเป้าหมาย คือ พัฒนาธุรกิจวิธีการโรงงานอัจฉริยะให้กลายเป็นองค์กรที่มีมูลค่าหลายล้านล้านวอนภายในปี ค.ศ. 2030 โดยไม่รวมรายได้ที่สร้างขึ้นภายในกลุ่ม LG

ตามงานวิจัยของบริษัท Precedence Research คาดว่า ตลาดโรงงานอัจฉริยะทั่วโลกจะเติบโตจาก 155.61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ เป็น 268.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี ค.ศ. 2030

LG ACCELERATES SMART FACTORY SOLUTIONS BUSINESS INTEGRATING AI WITH 66-YEAR MANUFACTURING EXPERTISE

มีข้อมูลมหึมาและสิทธิบัตรกว่า 1,000 รายการ

LG ได้สะสมข้อมูลและความรู้ด้านการผลิตอุตสาหกรรมจำนวนมหาศาลมาตลอดระยะเวลา 66 ปี ทั้งในด้านการออกแบบ การก่อสร้าง และการปฏิบัติการโรงงาน จากที่ผ่านมาเพียงทศวรรษเดียว บริษัทมีข้อมูลด้านการผลิตและการผลิตอุตสาหกรรม 770 เทราไบต์ (TB) (เทียบเท่าการจัดเก็บภาพยนตร์ความละเอียดสูงประมาณ 197,000 เรื่อง โดยถือว่าแต่ละเรื่องมีขนาด 4GB) โดยที่ความได้เปรียบทางการแข่งขันของบริษัทยังอยู่ที่เทคโนโลยีการผลิตหลักต่างๆ ซึ่งจำเป็นต่อการกำหนดรูปแบบของโรงงานอัจฉริยะ ทั้งนี้ PRI ได้ยื่นจดสิทธิบัตรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิธีการโรงงานอัจฉริยะไปแล้วมากกว่า 1,000 ฉบับ

LG มุ่งสร้างความแตกต่างให้กับวิธีการโรงงานอัจฉริยะ ด้วยการผสานรวมข้อมูลการผลิตอุตสาหกรรมและความเชี่ยวชาญที่ครอบคลุมเข้ากับ AI และ DX โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการผลิตระดับโลก ทำให้ได้วิธีการโรงงานอัจฉริยะที่ครอบคลุมทั้งการออกแบบระบบการผลิต การเฝ้าตรวจสอบ และการปฏิบัติการผ่านเทคโนโลยีแฝดดิจิทัล, การจัดการคุณภาพที่อยู่บนพื้นฐานข้อมูลขนาดใหญ่และ Generative AI รวมทั้งความปลอดภัยและอุปกรณ์ในทางอุตสาหกรรม, และการจัดหาหุ่นยนต์ต่างๆ ในด้านอุตสาหกรรม

ประสิทธิภาพการผลิตกับความสามารถในการทำกำไร

วิธีการโรงงานอัจฉริยะมุ่งไปที่การลดความล่าช้าหรือความผิดพลาดเล็กน้อยที่เกิดขึ้นในกระบวนการให้เหลือน้อยที่สุด โดยที่ประสิทธิภาพในการผลิตนั้นถูกเชื่อมโยงโดยตรงกับความสามารถในการทำกำไรโดยรวมของธุรกิจ ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญ ตัวอย่างเช่น สายการผลิตตู้เย็นของ LG ในเมืองชางวอน ผลิตตู้เย็น 1 เครื่องทุกๆ 13 วินาที หากเกิดความล่าช้าในสายการผลิต 10 นาที จะทำให้ตู้เย็นมีไม่พอต่อล็อตผลิต 50 เครื่อง หากสมมติว่าตู้เย็น 1 เครื่องมีราคา 2 ล้านวอน (≈52,000 บาท) ความล่าช้า 10 นาที จะส่งผลให้สูญเสียเงิน 100 ล้านวอน (≈2.6 ล้านบาท)

ผลกระทบนี้จะมีนัยสำคัญมากขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีความเร็วการผลิตมากกว่านี้ (เมื่อหน่วยความเร็วการผลิตเป็นล้านชิ้นต่อนาที (PPM)) ดังนั้นการลดความล่าช้าในกระบวนการต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาส่วนประกอบต่างๆ ไปจนถึงการประกอบ การบรรจุภัณฑ์ และการตรวจสอบ ล้วนมีความจำเป็น

วิธีการผลิตที่ครอบคลุมตลอดกระบวนการ

LG ไม่เพียงใช้แนวทางธุรกิจโรงงานอัจฉริยะเป็นวิธีการสำหรับใช้ในพื้นที่เฉพาะเท่านั้น แต่ยังเป็นวิธีการที่ครอบคลุมในทุกขั้นตอนสำหรับลูกค้า ตั้งแต่การวางแผนโรงงาน การออกแบบ การก่อสร้าง และการปฏิบัติการ โดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อมของลูกค้าและลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรม จึงมีการตรวจวินิจฉัยโรงงานที่มีอยู่และจำแนกพื้นที่เพื่อทำการปรับปรุง โดยกำหนดแผนงานทีละขั้นตอนจากมุมมองของการอัตโนมัติ การจัดระบบสารสนเทศ และความฉลาดอัจฉริยะ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการลงทุนให้มากสุด

Digital Twin ในทุกห่วงโซ่คุณค่า

วิธีการออกแบบระบบการผลิตและปฏิบัติการ ได้ใช้ประโยชน์จากการจำลองในเวลาจริงผ่านเทคโนโลยีแฝดดิจิทัล (digital twin) โดยก่อนที่จะสร้างโรงงาน จะมีการสร้างแบบจำลองให้เหมือนกับโรงงานจริง ทำให้ลูกค้าสามารถดูตัวอย่างการเคลื่อนไหลตามขั้นตอนการผลิตและโลจิสติกส์ได้ ทำให้การออกแบบโรงงานมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ เมื่ออยู่ในระยะปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูลในเวลาจริงจะช่วยตรวจจับส่วนที่เป็นคอขวด ข้อบกพร่อง และการทำงานที่ผิดปกติในสายการผลิตได้ล่วงหน้า จึงช่วยเพิ่มผลิตภาพได้

หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติและหุ่นยนต์ทำงานร่วมกัน

ด้วยวิธีการที่หลากหลายในด้านหุ่นยนต์อุตสาหกรรมสำหรับระบบอัตโนมัติของโรงงานของ LG จึงเป็นข้อเสนอที่เป็นประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญ โดยหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ (AMR) มาพร้อมกับกล้อง เรดาร์ และเซนเซอร์ LiDAR เพื่อจดจำสภาพแวดล้อมโดยรอบ พร้อมทั้งการจัดหาชิ้นส่วนและวัสดุ โดย AMR มีการนำทางที่มีประสิทธิผล สามารถหลบหลีกคนงานและสิ่งกีดขวางได้จากการขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติ

Mobile Manipulator (MM) ได้รวมแขนหุ่นยนต์หลายข้อต่อเข้ากับ AMR จึงสามารถทำงานต่างๆ ในแบบอัตโนมัติได้อย่างไร้รอยต่อ โดยสามารถปฏิบัติงานได้หลากหลาย เช่น การประกอบ การตรวจสอบชิ้นงานที่เสีย และการขนย้ายชิ้นส่วนและวัสดุ นอกจากนี้ ยังสามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ของ AMR ที่อยู่ใกล้เคียงกันเมื่อแบตเตอรี่ใกล้จะหมดได้

Generative AI ทำให้ง่ายต่อการวินิจฉัยความผิดปกติ

ความสามารถในการจัดการกับอัตราผลผลิตดีและทำให้มั่นใจในการทำงานของอุปกรณ์ว่าเป็นไปอย่างราบรื่นนั้นมีประโยชน์อย่างมาก โดยเซนเซอร์ที่ติดตั้งไว้ทั่วทั้งโรงงานจะตรวจจับสัญญาณที่ผิดปกติ เช่น การสั่นสะเทือนและเสียงรบกวนที่เกิดจากอุปกรณ์เสื่อมสภาพหรือขาดการหล่อลื่น จากนั้นจึงใช้ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อระบุสาเหตุและแนะนำวิธีการแก้ไข

Generative AI อยู่บนพื้นฐานของแบบจำลองภาษาขนาดใหญ่ จึงทำให้ง่ายต่อการออกคำสั่งด้วยเสียง ตัวอย่างเช่น พูดว่า “มีการสั่นสะเทือนผิดปกติที่อุปกรณ์ A เมื่อเวลา 14.00 น.” ซึ่งเป็นการบันทึกเหตการณ์ดังกล่าวไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ หรือในกรณีออกคำสั่ง เช่น “แสดงผลการสั่นสะเทือนผิดปกติล่าสุด และดำเนินการแก้ไข” เป็นการแสดงรายการข้อบกพร่องประเภทต่างๆ และแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ตามลำดับที่จะเป็นไปได้

นอกจากนี้ LG ยังพัฒนาระบบตรวจจับในเวลาจริงที่ขับเคลื่อนด้วย Vision AI ระบบนี้จะเรียนรู้ถึงสภาพการทำงานปกติของโรงงาน และตรวจจับสิ่งผิดปกติต่างๆ เช่น ความผันผวนของอุณหภูมิ และชิ้นงานที่เสีย/มีตำหนิ นอกจากนี้ ยังช่วยปรับปรุงการจัดการด้านความปลอดภัยในโรงงาน เช่น สามารถระบุคนงานที่ไม่ได้สวมหมวกนิรภัยหรือเสื้อกั๊กนิรภัยได้อย่างถูกต้อง

โมเดลธุรกิจที่ใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญ

โรงงานอัตโนมัติแบบอัจฉริยะของ LG ในเมืองชางวอน ประเทศเกาหลีใต้ และเทนเนสซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับการยกย่องให้เป็น Lighthouse Factory (โรงงานประภาคาร) จาก World Economic Forum หลังจากที่ได้นำวิธีการโรงงานอัจฉริยะมาใช้ ผลิตภาพของโรงงานในเมืองชางวอนเพิ่มขึ้น 17 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพการใช้พลังงานดีขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ และต้นทุนด้านคุณภาพที่เกี่ยวเนื่องกับชิ้นงานเสีย/มีตำหนิลดลง 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งภายในกลุ่ม LG ที่มีโรงงานผลิตมากกว่า 60 แห่งใน 40 ภูมิภาคทั่วโลกกำลังนำวิธีการจาก PRI มาใช้

การใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญด้านโรงงานอัจฉริยะที่ผ่านการรับรองทั้งภายในและภายนอกนี้ เมื่อพิจารณาถึงการร่วมทุนทางธุรกิจแล้ว ย่อมแสดงให้เห็นถึงนัยสำคัญต่อการนำสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้มาใช้ในเชิงพาณิชย์ โดย LG กำลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์ที่ครอบครองในทางธุรกิจ ซึ่งโดยปกติจะเน้นไปที่การผลิตฮาร์ดแวร์ พร้อมกับการผสานรวมซอฟต์แวร์และวิธีการเข้ากับโครงสร้างที่จะเติบโตในอนาคต ด้วยแนวทางนี้ จะช่วยให้ภาคส่วน B2B ของบริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งในสามที่จะผลักดันการเติบโตในวิสัยทัศน์อนาคต 2030 ของ LG โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมุ่งเป้าไปที่ลูกค้าองค์กรภายนอกจำนวนมาก

ที่มา: LG Electronics

About pawarit

Check Also

MC Machinery Systems ร่วมมือกับ Acieta นำเสนอ FastBEND เซลล์หุ่นยนต์สำหรับการดัดขึ้นรูป

MC Machinery Systems เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนพิเศษกับ Acieta เพื่อนำเสนอ FastBEND เซลล์หุ่นยนต์สำหรับการดัดขึ้นรูป ซึ่งประกอบไปด้วยวิธีการทางหุ่นยนต์ของ Acieta และ Diamond BB Series ซึ่งเป็นเบรกกดแบบไฟฟ้าสำหรับเครื่องดัดขึ้นรูปของ …

AI และเทคโนโลยีเกิดใหม่ กำลังขับเคลื่อนความต้องการส่วนประกอบแม่เหล็ก

ด้วยความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ส่งผลให้ความต้องการในการประมวลผลประสิทธิภาพสูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้งานที่ต้องอาศัยหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) ที่ทรงพลัง ดังจะเห็นได้จากการเติบโตของ GPU จากผู้ผลิตต่างๆ เช่น NVIDIA, AMD และ Intel