อีก 2 ปี ประเทศไทย จะมีโรงงานผลิตชิปแห่งแรก จากการร่วมมือระหว่าง ปตท. และ Hana Electronics

BOI หรือ Thailand’s Board of Investment คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้อนุมัติให้บริษัทร่วมทุนระหว่าง ปตท. และ Hana Electronics สร้างโรงงานผลิตชิปมูลค่า 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณกว่า 11,550 ล้านบาท

ทั้งนี้ BOI ได้เผยถึงแผนการก่อสร้างว่า “เฟสแรกจะลงทุนมูลค่า 11,500 ล้านบาท (350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) และคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปีในการก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักร โดยการผลิตมีกำหนดจะเริ่มขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2570 เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์กำลังสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ศูนย์ข้อมูล (Data Centres) และระบบกักเก็บพลังงาน”

ล่าสุด เมื่อวันที่ 20 กันยายน นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการ BOI ได้นำคณะผู้แทนฯ เดินทางเยือนจังหวัดลำพูน เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตชิปแห่งแรกของไทย โดบจะดำเนินการภายใต้บริษัท เอฟที1 คอร์ปอเรชั่น จำกัด (FT1) ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก BOI เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

BOI ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับบริษัท เอฟที1 คอร์ปอเรชั่น จำกัด (FT1) เพื่อสนับสนุนการดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ขณะนี้โครงการดังกล่าวอยู่ในระหว่างการออกแบบโรงงานและเตรียมการเริ่มก่อสร้างในพื้นที่สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ที่คาดว่าโรงงานจะสร้างและติดตั้งเครื่องจักรเสร็จภายใน 2 ปี และเริ่มเปิดเครื่องจักรผลิตในไตรมาสแรกของปี 2570 หากเป็นไปตามแผนข้างต้น FT1 จะได้รับประโยชน์จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้ผลิตชิปชั้นนำของเกาหลีใต้เพื่อผลิตเวเฟอร์ซิลิกอนคาร์ไบด์ (SiC) ขนาด 6 และ 8 นิ้ว

ที่มา : https://www.channelnewsasia.com/business/thailand-approves-350-million-chip-factory-ptt-and-hana-electronics-jv-4624836 และ https://www.nationthailand.com/business/tech/40041730

About pawarit

Check Also

สยามพารากอน ผนึกกำลังบุคคลสำคัญระดับโลก ส่งต่อความรู้ด้าน AI บนเวที The Global Tech Talk ณ SCBX NEXT TECH

สยามพารากอน ร่วมกับ SCBX สร้างปรากฏารณ์งานทอล์กแห่งปี ที่จะทำให้คุณได้พบกับบุคคลสำคัญระดับโลกในวงการเทคโนโลยีจากองค์กรชั้นนำระดับประเทศและต่างประเทศ ที่จะมาร่วมเจาะลึก AI พร้อมเข้าใจการใช้งานอย่างเต็มศักยภาพในห้วข้อ “AI: Empowering the Future Workforce” ณ SCBX …

Mercedes-Benz เปิดโรงงานรีไซเคิลของตนเองในยุโรป เพื่อปิดวงรอบการรีไซเคิลแบตเตอรี่

Mercedes-Benz เปิดโรงงานรีไซเคิลแบตเตอรี่แห่งแรกในยุโรป โดยใช้กระบวนการแบบบูรณาการทางกล-โลหวิทยาการละลาย (mechanical-hydrometallurgical) ทำให้ Mercedes-Benz เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกของโลกที่ปิดวงรอบการรีไซเคิลแบตเตอรี่ด้วยโรงงานภายในของบริษัทเอง