ประเด็นสำคัญ
- ความท้าทายในการริเริ่มด้านความยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน
- ข้อมูลเชิงลึกระดับภูมิภาคอาเซียน: การขับเคลื่อนการผลิตด้วยโซลูชันเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
- คุณภาพของข้อมูล: ความหลากหลายและความท้าทายในการรายงานความยั่งยืน
การก้าวสู่ความยั่งยืนในภาคการผลิตและซัพพลายเชน นับว่ามีความสำคัญอย่างมากสำหรับองค์กรที่ต้องการเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางธุรกิจ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และปฏิบัติตามมาตรฐานการกำกับดูแล หากต้องการเริ่มต้นก้าวสู่การดำเนินงานที่ยั่งยืน ตามผลการสำรวจในภูมิภาคอาเซียนโดย IDC จากการสนับสนุนโดย Fujitsu มองว่า ภายในปี 2027 ร้อยละ 40 ของบริษัทชั้นนำใน Fortune Global กว่า 2,000 แห่ง จะใช้ข้อมูลความยั่งยืนที่ครอบคลุมจากระบบนิเวศทั้งหมดในการตัดสินใจด้านการดำเนินงาน ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึงร้อยละ 30
ธุรกิจต่างๆ สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับผลลัพธ์ทางธุรกิจที่วัดผลได้ โดยการให้ความสำคัญกับความยั่งยืนเป็นหัวใจหลักของการดำเนินงาน ใน InfoBrief ฉบับนี้ ได้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกจากองค์กรในภาคการผลิตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ซึ่งครอบคลุมถึงปัจจัยสำคัญสำหรับการลงทุน ความท้าทายที่ต้องเผชิญแผนการลงทุนในแอปพลิเคชันที่สนับสนุนโครงการด้านความยั่งยืน และเกณฑ์สำหรับการเลือกผู้จัดจำหน่าย นอกจากนี้ รายงานยังชี้ให้เห็นถึงแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนและกรณีศึกษาจากผู้ผลิต พร้อมข้อมูลเชิงลึกที่เจาะลึกลงไปในระดับภูมิภาคประเทศในอาเซียนอย่างชัดเจน
ความท้าทายในการริเริ่มด้านความยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน
การลงทุนในเทคโนโลยีที่ยั่งยืนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรที่ต้องการสร้างความยืดหยุ่นในระยะยาวและลดต้นทุน การริเริ่มโครงการต่างๆ ต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งปัจจัยภายนอกและภายในหลายประการ ผลักดันให้ผู้ผลิตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ปรับตัวสู่แนวทางการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนมากขึ้น ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะมีความสำคัญต่ออนาคตขององค์กรและห่วงโซ่อุปทานที่ซับซ้อน แต่ผู้ผลิตยังคงเผชิญกับความท้าทายที่ต้องจัดการ ได้แก่
- ความซับซ้อนของห่วงโซ่อุปทานและการมองเห็น: ร้อยละ 43 ขององค์กรระบุว่า ความซับซ้อนของห่วงโซ่อุปทานเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ขาดความโปร่งใสและการมองเห็นข้อมูลในระบบ ซึ่งส่งผลต่อการประเมินผลกระทบและการตัดสินใจด้านความยั่งยืน
- แนวคิดที่เน้นผลกำไรเป็นหลัก: ร้อยละ 36 ขององค์กรมองว่า การให้ความสำคัญกับการเติบโตของธุรกิจและแนวคิดที่มุ่งเน้นผลกำไรเป็นหลัก ยังคงเป็นอุปสรรคที่ทำให้การลงทุนด้านความยั่งยืนไม่ได้รับความสำคัญเท่าที่ควร
- ความท้าทายในการเลือกผู้จัดจำหน่าย: ร้อยละ 33 ขององค์กรระบุว่า การค้นหาผู้จำหน่ายหรือผู้ให้บริการเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการสนับสนุนเป้าหมายด้านความยั่งยืนเป็นเรื่องยาก และเป็นข้อจำกัดสำคัญในการดำเนินโครงการ
- ช่องว่างความเชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน: ร้อยละ 33 ขององค์กรชี้ว่า การขาดความเชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนระดับองค์กรเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม
- มาตรฐานการรายงานที่ซับซ้อน: ร้อยละ 28 ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่า ความสับสนเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานตัวชี้วัดความยั่งยืนยังคงเป็นปัญหา โดยเฉพาะในระดับภูมิภาคที่มีข้อกำหนดที่หลากหลายและไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ผู้ผลิตในภูมิภาคอาเซียนกำลังเร่งเปลี่ยนสู่โรงงานดิจิทัล (Digital Factory) ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อจัดการกับความท้าทายด้านความยั่งยืน เช่น Cloud Computing, IoT, AI และ Machine Learning เทคโนโลยีเหล่านี้จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและพลังงาน การควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการใช้ Digital Twins และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ การตรวจสอบย้อนกลับในห่วงโซ่อุปทานผ่านแพลตฟอร์มบนคลาวด์ช่วยติดตามวัสดุรีไซเคิลและข้อมูลห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) รวมไปถึงการรายงานด้านความยั่งยืนด้วยระบบอัตโนมัติสำหรับการจัดเก็บและรายงานตัวชี้วัดความยั่งยืน ช่วยเพิ่มความถูกต้องและสอดคล้องกับมาตรฐาน
เทรนด์การลงทุนในแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนความยั่งยืนในช่วง 12 – 18 เดือนข้างหน้า
- ร้อยละ 46 ขององค์กรระดับชั้นนำ จะมีการลงทุนในระบบ Robotic Process Automation (RPA) และ Intelligent Process Automation (IPA) เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดข้อผิดพลาดจากมนุษย์และเพิ่มการตอบสนองแบบเรียลไทม์
- ร้อยละ 44 ขององค์กรระดับชั้นนำ จะมีการลงทุนในระบบ Sales & Operation Planning (S&OP) และ Integrated Business Planning (IBP) เพื่อปรับปรุงกระบวนการวางแผนยอดขายและการดำเนินงาน เชื่อมโยงการวางแผนธุรกิจแบบบูรณาการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน
- ร้อยละ 42 ขององค์กรระดับชั้นนำ จะมีการลงทุนในระบบ Manufacturing Execution Systems (MES) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในโรงงาน ปรับปรุงการตรวจสอบและรายงานข้อมูลการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานความยั่งยืน
*** ข้อมูลอ้างอิงมาจากแบบสำรวจดัชนีความพร้อมด้านความยั่งยืนของ IDC ประจำปี 2023 (การผลิตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก)
ข้อมูลเชิงลึกระดับภูมิภาคอาเซียน:
การขับเคลื่อนการผลิตด้วยโซลูชันเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
ผู้ผลิตในภูมิภาคอาเซียนกำลังเผชิญความท้าทายด้านการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อและปัญหาการขาดแคลนอุปทาน ความท้าทายเหล่านี้องค์กรต่างๆ ได้ให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดของเสีย และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ด้านการนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ ในเวลาเดียวกันผู้ผลิตยังเพิ่มการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการติดตามและตรวจสอบ เช่น การติดตามการปล่อยคาร์บอนตลอดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ และการรายงานผลด้านความยั่งยืน หรือ ESG ซึ่งไม่เพียงตอบสนองความต้องการของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร
5 กรณีการใช้งานสำคัญในโครงการริเริ่มด้านความยั่งยืน:
- การลดของเสียและเพิ่มประสิทธิภาพด้านต้นทุน
- การลดการปล่อยคาร์บอน เป็นการลดคาร์บอนฟุตพรินท์ด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ช่วยลดการปล่อยมลพิษ
- การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับเปลี่ยนแนวทางธุรกิจ เพื่อให้สามารถนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อตรวจสอบและติดตามการปล่อยคาร์บอนในทุกขั้นตอน ตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
- การรายงานผลด้านความยั่งยืน หรือ ESG พร้อมผลลัพธ์ทางการเงิน ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า
การดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ผู้ผลิตยังคงพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เทคโนโลยีที่ผสานกันของ IT ,OT, IoT และระบบอัตโนมัติในโรงงาน เพื่อสนับสนุนเป้าหมายด้านความยั่งยืนในหลายมิติ เช่น การติดตามการปล่อยคาร์บอน การเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน การลดของเสียและการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต และการนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
ประโยชน์จากการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
- การดำเนินงานที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลช่วยให้องค์กรมีความสามารถในการมองเห็นและตรวจสอบกระบวนการได้อย่างชัดเจน เพิ่มความแม่นยำในการรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ความน่าเชื่อถือ และการปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ดียิ่งขึ้น
- ข้อมูลเชิงลึกช่วยให้องค์กรมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงกระบวนการและการบริหารทรัพยากรอย่างเหมาะสม ส่งผลให้การใช้วัตถุดิบ น้ำ และพลังงานมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดความสูญเปล่าและต้นทุนในการดำเนินงาน
- การติดตามผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องด้วยข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ช่วยให้องค์กรสามารถตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที โดยใช้ข้อมูลครบถ้วนและแม่นยำในการกำหนดกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ทั้งด้านธุรกิจและสิ่งแวดล้อม
คุณภาพของข้อมูล:
ความหลากหลายและความท้าทายในการรายงานด้านความยั่งยืน
การรายงานด้านความยั่งยืนมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับองค์กรที่ต้องการแสดงผลกระทบด้าน ESG อย่างโปร่งใส อย่างไรก็ตาม ความหลากหลายของข้อมูลที่มีการรวบรวมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลากหลายกลุ่มในระบบนิเวศ มักไม่มีมาตรฐานเดียวกัน ขาดเกณฑ์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลในการวัดและการรายงานตัวชี้วัดความยั่งยืน ส่งผลให้การเปรียบเทียบระหว่างบริษัทหรืออุตสาหกรรมเป็นไปได้ยาก สิ่งนี้อาจก่อให้เกิดความสับสนในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและนำมาซึ่งข้อกังวลเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลหรือการสื่อสารที่เกินจริงเกี่ยวกับความเป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ซึ่งอาจถูกมองว่าเป็นความพยายามในการสร้างภาพลักษณ์ที่รับผิดชอบต่อสังคมและใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากกว่าความเป็นจริง
การสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลที่ปลอดภัยและพัฒนาวิธีการประเมินวงจรชีวิต (LCA) ใช้วัดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของกระบวนการผลิตตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) และคาร์บอนฟุตพรินท์ นอกจากนี้ การผสานรวมเทคโนโลยีสามารถช่วยรวมระบบที่แตกต่าง และขจัดไซโลข้อมูล เพื่อสร้างการมองเห็นได้แบบเรียลไทม์ทั่วทั้งระบบนิเวศการผลิต ด้วยโซลูชันนี้ ผู้ผลิตสามารถติดตาม ตรวจสอบ รายงาน และยืนยันประสิทธิภาพด้านความยั่งยืน พร้อมปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างครบถ้วน
บทสรุป
การสร้างห่วงโซ่อุปทานการผลิตแบบดิจิทัลที่ยั่งยืนถือเป็นเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญสำหรับองค์กรที่ต้องการเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางธุรกิจ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และปฏิบัติตามมาตรฐานการกำกับดูแล หากต้องการเริ่มต้นก้าวสู่การดำเนินงานที่ยั่งยืน ควรคำนึงถึง
- แผนงานเชิงยุทธศาสตร์เพื่อความยั่งยืน เริ่มต้นด้วยการประเมินโดยละเอียดที่วัดแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืนในปัจจุบัน เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรม เพื่อระบุประเด็นสำคัญที่สามารถปรับปรุงได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
- การติดตามการปล่อยก๊าซอย่างครอบคลุม โดยใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์และการวิเคราะห์เพื่อติดตามแบบเรียลไทม์ การใช้ AI เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลช่วยให้สามารถตัดสินใจเพื่อให้การลดการปล่อยคาร์บอนทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานระดับสากล
- การรวบรวมข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ใช้แพลตฟอร์มการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยให้สามารถติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการใช้ทรัพยากรมีความแม่นยำสูง
- ส่งเสริมแนวทางปฏิบัติด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน การนำแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในองค์กรควรใช้โซลูชันดิจิทัลที่ครอบคลุมการจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงสิ้นสุดอายุการใช้งาน โดยมุ่งเน้นการใช้วัสดุซ้ำและการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (PLM) การวิเคราะห์เชิงลึก Digital Twins และ AI เพื่อพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานยาวนานและรีไซเคิลได้
- การเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจและความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการคาดการณ์ความต้องการและปรับปรุงการปฏิบัติงาน โดยประเมินและปรับกระบวนการผลิตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดของเสีย และปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ สิ่งสำคัญ คือ ควรให้กระบวนการทางธุรกิจพัฒนาไปพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
สามารถดาวน์โหลดเอกสาร Fujitsu IDC Manufacturing Report ฉบับเต็มได้ที่: https://mkt-asia.global.fujitsu.com/asia/2024/driving-sustainable-transformation-manufacturing/infobrief
ที่มา : IDC Asia/Pacific InfoBrief, sponsored by Fujitsu | May 2024