ฮอนด้า และ นิสสัน ได้หารือกันเบื้องต้นเกี่ยวกับการควบรวมกิจการเพื่อช่วยให้สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยเฉพาะในประเทศจีนได้ โดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของกันและกัน
หากดีลนี้ บรรลุข้อตกลงได้ จะเป็นการควบรวมกิจการระหว่างผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 2 และอันดับ 2 ของญี่ปุ่น และอาจมีความซับซ้อนด้วยเหตุผลหลายประการ โดยข้อตกลงใด ๆ ก็ตามมีแนวโน้มที่จะถูกตรวจสอบทางการเมืองอย่างเข้มงวดในญี่ปุ่น เนื่องจากอาจนำไปสู่การเลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก นอกจากนี้ นิสสัน ยังมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับการยุติความร่วมมือกับเรโนลต์ ผู้ผลิตยานยนต์สัญชาติฝรั่งเศสอีกด้วย
เมื่อเดือนมีนาคม ฮอนด้า และ นิสสัน ตกลงที่จะร่วมมือกันในธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า และในเดือนสิงหาคม ก็ได้กระชับความสัมพันธ์กันมากขึ้น โดยตกลงที่จะทำงานร่วมกันในด้านแบตเตอรี่และเทคโนโลยีอื่น ๆ
ทั้งสองบริษัทได้ตอบกลับ BBC ด้วยแถลงการณ์ที่เหมือนกัน โดยระบุว่า “ตามที่ประกาศเมื่อเดือนมีนาคมของปีนี้ ฮอนด้า และ นิสสัน กำลังสำรวจความเป็นไปได้ต่าง ๆ สำหรับความร่วมมือในอนาคต โดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของกันและกัน” แน่นอนว่า ฮอนด้า และ นิสสัน ไม่ได้ปฏิเสธเรื่องนี้ ซึ่งรายงานครั้งแรกโดยหนังสือพิมพ์ธุรกิจของญี่ปุ่น Nikkei แต่ระบุว่า “ไม่ใช่สิ่งที่บริษัททั้งสองประกาศ”
Nikkei ยังรายงานด้วยว่า ในที่สุด นิสสัน และ ฮอนด้า อาจนำ มิตซูบิชิ เข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วย โดยที่ นิสสัน เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของ มิตซูบิชิ สำหรับราคาหุ้น นิสสัน ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า 20% ในโตเกียวหลังจากมีรายงานดังกล่าว ราคาหุ้น ฮอนด้า ลดลงประมาณ 2% ในขณะที่ราคาหุ้น มิตซูบิชิ พุ่งขึ้น 13%
Jessica Caldwell นักวิเคราะห์ของ Edmunds กล่าวว่า “การเคลื่อนไหวนี้ ไม่เพียงเพื่อความอยู่รอดเท่านั้น แต่ยังเพื่ออนาคตอีกด้วย”
ฮอนด้า และนิสสัน กำลังสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดในจีน ซึ่งคิดเป็นเกือบ 70% ของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกในเดือนพฤศจิกายน 2024 ทั้งสองแบรนด์มียอดขายทั่วโลกรวมกัน 7,400,000 คันในปี 2023 แต่กำลังดิ้นรนเพื่อแข่งขันกับผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกกว่า เช่น BYD ซึ่งมีรายได้ประจำไตรมาสพุ่งสูงขึ้น แซงหน้า เทสลา เป็นครั้งแรกในเดือนตุลาคม
ที่มา : https://finance.yahoo.com/news/honda-nissan-merger-talks-reports-235403610.html และ https://www.bbc.com/news/articles/cr56r74214eo