ส่องโลกสีเขียวจากดัชนี Green Future Index 2023 ท่ามกลางระดับคาร์บอนในชั้นบรรยากาศพุ่งสูงขึ้น

ดัชนี Green Future Index (GFI) จัดทําโดย MIT Technology Review Insights ร่วมกับ Kyndryl, Intel และ Iris Ceramica Group เป็นการจัดเทียบอันดับประจําปีครั้งที่ 3 ของ 76 ชาติและดินแดนที่มีความคืบหน้าในการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน คาร์บอนต่ำ เพื่อเศรษฐกิจและสังคมของพวกเขา

GFI 2023 rankings world map

แบบแผนการวิจัยมีทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ดําเนินการในช่วงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2022 ถึงมกราคม ค.ศ. 2023 ดัชนี Green Future Index 2023 เป็นการตรวจวัดในอาณาเขตที่ประเทศและดินแดนนั้นกําลังมุ่งไปสู่อนาคตสีเขียวโดย การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน การพัฒนาพลังงานสะอาด การสร้างสรรค์นวัตกรรมในภาคสีเขียว และการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงระดับความเข้มงวดที่รัฐบาลกําลังดําเนินนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิผล

มีประเด็นสําคัญที่ค้นพบตามรายงาน Green Future Index 2023 พอสรุปได้ดังนี้

กลุ่มผู้นําสีเขียว ทรงอย่างเดิม เพิ่มไม่ขึ้น

  • เกือบทั้งหมดในกลุ่มนี้ ยกเว้นสามประเทศในอันดับต้นๆ ของผู้นําสีเขียว ปี 2023 ก็ยังเป็นกลุ่มเดียวกันเหมือนปี 2022 โดยไอซ์แลนด์ยังคงอยู่อันดับบนสุด และมีเพียงหนึ่งเดียวใน 10 อันดับแรกที่ไม่ใช่ประเทศในยุโรป นั่นคือ เกาหลีใต้
  • ลักเซมเบิร์ก เป็นประเทศเดียวที่ขยับเลื่อนขึ้นมาอยู่กลุ่มผู้นําสีเขียว (อยู่อันดับที่ 16 โดยเลื่อนขึ้นมาจากอันดับที่ 28 ในปี 2022)
  • สหรัฐอเมริกา พอเห็นผลการปรับปรุงที่ดีขึ้น ทำให้อันดับเขยิบขึ้นเล็กน้อยจากที่ 20 มาเป็น 19
  • ประมาณครึ่งหนึ่งของกลุ่มผู้นําสีเขียว มีคะแนนลดลงในช่วงปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะใช้ความพยายามในการลดคาร์บอนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น รวมทั้งการปฏิบัติตามนโยบายด้วยความแข็งแกร่งขึ้น แต่ผลที่กลับมาในช่วงต้นก็ยังลดลง

กลุ่มเขียวกลาง อันดับวนเปลี่ยนกันไป

  • มี 20 ประเทศที่อยู่ในกลุ่มเขียวกลาง ได้จัดทำนโยบายด้านความยั่งยืนและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติ ทำให้อันดับในกลุ่มนี้เปลี่ยนไปอย่างมาก
  • ส่วนหนึ่งในกลุ่มนี้ เป็นประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่สามารถเชื่อมโยงนโยบายความยั่งยืนเข้ากับสิ่งจูงใจทางเศรษฐกิจได้ เช่น แอฟริกาใต้ (อันดับที่ 25 ในปี 2023 เลื่อนขึ้นมาจากเดิมอันดับที่ 31) และอุรุกวัย (อยู่อันดับที่ 26 เลื่อนขึ้นจากเดิมอันดับที่ 38 เมื่อปี 2022)
  • เช่นเดียวกับในปีที่ผ่านมา ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่มีอันดับสูงสุดสําหรับ Green Future Index 2023 คือ คอสตาริกา อยู่อันดับที่ 24

ประเด็นความมั่งคั่ง

  • แม้จะมีความพยายามอย่างโดดเด่นในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ยังคงอยู่ในอันดับที่ไม่ดีนักตามการจัดอันดับล่าสุดใน Green Future Index 2023
  • การจัดอันดับที่มีสหสัมพันธ์กับ GDP ต่อหัว เผยให้เห็นความจริงอย่างที่ไม่สบายใจนัก เพราะความมั่งคั่งนั้นมีนัยสำคัญต่อการสนับสนุนให้ประเทศมีความสามารถในการจัดการให้มีปริมาณคาร์บอนต่ำตามที่กำหนดไว้ในอนาคตได้

เศรษฐศาสตร์เพียงอย่างเดียวไม่ได้ชี้ชะตาอนาคต

  • มี 17 จาก 35 ประเทศ ที่ทำคะแนนได้ดีขึ้นในปี 2023 โดยที่เหล่านั้นเป็นประเทศที่ยากจนกว่า
  • อาร์เจนตินา และ อินโดนีเซีย เป็นสองประเทศที่มีอัตราการเติบโตมากที่สุดในปี 2023 เมื่อเทียบกับทุกประเทศที่จัดทำดัชนี โดยอาร์เจนตินาขยับอันดับขึ้นมาที่ 20 จากเดิมอยู่ที่ 48 ขณะที่อินโดนีเซีย อยู่อันดับที่ 21 จากเดิมอันดับ 49
  • การให้คำมั่นสัญญาในการปรับปรุง นั่นคือ นัยสำคัญ เหมือนเป็นเสาเอกเพียงเสาเดียวที่อยู่เบื้องหลังการไต่อันดับที่ดีขึ้นของทั้งสองประเทศ โดยอาร์เจนตินา ได้คะแนนสังคมสีเขียวเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับ คะแนนการปล่อยคาร์บอนของอินโดนีเซีย

น้ำหนักคาร์บอนที่แบกรับไม่ไหว

  • ในระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือการสกัดทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไป มีส่วนทําให้คะแนนลดลง โดยกลุ่มผู้ถ่วงภูมิอากาศ (climate laggards) ซึ่งปรับตัวได้ช้า โดยส่วนใหญ่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นจากอุตสาหกรรมที่เน้นคาร์บอน ขณะที่ออสเตรเลียนั้นมีชื่อเสียงในการเริ่มปลดปล่อยตัวเองจากเศรษฐกิจที่เน้นคาร์บอน และด้วยสิ่งจูงใจทางธุรกิจที่เน้นไปตามนโยบายใหม่ จึงสามารถกระโดดข้ามขึ้นมา 10 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 42 ในปี 2023
  • สำหรับประเทศไทย ในดัชนีปี 2023 อยู่ที่อันดับ 55 ตกลงมาจากอันดับ 48 ในปีที่แล้ว

“ในขณะที่โลกกําลังเผชิญกับปัญหาสําคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Green Future Index ได้วิเคราะห์แบบรวบยอดในประเด็นที่ว่า ประเทศต่างๆ กําลังก้าวไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนและมีคาร์บอนต่ำกันอย่างไร” กล่าวโดย Laurel Ruma ผู้อํานวยการกองบรรณาธิการของ MIT Technology Review Insights

เธอกล่าวอีกว่า “ถึงแม้จะมีผู้นําที่เห็นได้ชัดเจนในพื้นที่นี้แล้ว แต่รายงานยังเปิดเผยความจริงที่ไม่สบายใจเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่าง ‘ความมั่งคั่ง’ และ ‘ความสามารถของประเทศ’ ต่อการกําหนดอนาคตคาร์บอนต่ำ อย่างไรก็ตาม เราสนับสนุนให้เห็นว่าความมุ่งมั่นในการปรับปรุงความยั่งยืนไม่ได้จํากัดอยู่เฉพาะประเทศที่มีรายได้สูงเท่านั้น โดยประเทศกําลังพัฒนา อย่างเช่น อาร์เจนตินา และอินโดนีเซีย ได้ทำให้เห็นถึงความก้าวหน้าอย่างมาก”

“เป็นที่ชัดเจนว่า พวกเราทุกคนต้องคิดต้องทํามากกว่านี้เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ Green Future Index สามารถใช้เป็นแนวทางสําหรับผู้กําหนดนโยบายและองค์กรต่างๆ ในขณะที่เรายังคงเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้ เราต้องมุ่งเน้นไปที่การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายผ่านงานนโยบาย เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรม และการลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่ง MIT Technology Review Insights มุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมในความพยายามที่สําคัญนี้ และเรายังคงสนับสนุนการพัฒนาอนาคตที่ยั่งยืนสําหรับทุกคน” Ruma กล่าวในตอนท้าย

ที่มา: MIT Technology Review Insights

About pawarit

Check Also

6 ผู้นำชูธงยกระดับ “อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์กับการพัฒนาประเทศไทย” ต้องขับเคลื่อนให้เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นที่น่าจับตาเนื่องด้วยมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและภูมิภาคโลก ไม่ว่าจะเป็นอิเล็กทรอนิกส์เซ็นเซอร์ จอแสดงผล อุปกรณ์จัดเก็บพลังงาน เซมิคอนดักเตอร์ และนวัตกรรม เมื่อเร็วๆนี้ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเวทีเสวนา เรื่อง ‘อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์กับการพัฒนาประเทศไทย’ ณ หอประชุมเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) โดยมี รศ.ดร.คมสัน มาลีสี, ดร.ชิต เหล่าวัฒนา, คุณสัมพันธ์ ศิลปนาฏ, ดร.บดินทร์ …

Mitsubishi Electric ร่วมกับพันธมิตรเดินหน้าผลักดันนวัตกรรมดิจิทัลต่อเนื่องขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ก้าวข้ามกับดัก “ภาษีคาร์บอน” ยกระดับการพัฒนาสู่ความยั่งยืนของโลก

บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เดินหน้าแนะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเร่งผลักดันการลดคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมพลาสติกและยางซึ่งได้รับผลกระทบจากมาตรการทางภาษี​ ภายใต้แนวคิด “Drive SUSTAINABILITY in Manufacturing by …