ในยุคของการแปลงไปเป็นดิจิทัล ข้อมูลนั้นเปรียบได้กับขุมทองใหม่ ด้วยนวัตกรรม Field Data Enablement (FDE) จาก Siemens จะทำให้ข้อมูลภาคสนามที่ยังไม่ได้ใช้นั้นสามารถเข้าถึงได้สำหรับงานไอที ทำให้บริษัทผู้ผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้นและรองรับกับงานในอนาคตได้ ในโรงงานผลิตหลายแห่งยังมีสิ่งแฝงเร้นอยู่มากที่มีศักยภาพต่อการปรับการทำงานในระดับสนาม (field level) ให้มีความเหมาะสมที่สุด ตัวอย่างเช่น การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและระบบให้เป็นแบบอัตโนมัติ โดยปัจจุบันนี้มีข้อมูลเพียงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณข้อมูลทั้งหมดที่ถูกนำไปใช้งาน และข้อมูลที่จัดเตรียมไว้ให้กับระบบ IT นั้น เป็นข้อมูลที่ส่งไปจากคอนโทรลเลอร์ นั่นคือ เป็นข้อมูลจากพื้นที่การผลิต (shop floor) ของโรงงาน ส่งไปยังโหนดเอดจ์ (edge) หรือไปที่ระบบคลาวด์ นั่นหมายความว่า หลังจากนั้นจะไม่มีข้อมูลหลงเหลืออยู่ในคอนโทรลเลอร์ที่จะส่งให้กับฝ่าย IT ได้ใช้งานอีก ยกตัวอย่างข้อมูลที่ขาดไปหรือไม่ได้ส่งเข้าไปในระบบ เช่น ข้อมูลในช่วงเริ่มทดสอบการทำงานของระบบ
Field Data Enablement สามารถรวบรวมข้อมูลในส่วนของ IT (Information Technology) และ OT (Operational Technology) เข้าด้วยกันได้โดยไม่จำเป็นต้องสร้างโปรแกรมใหม่ให้กับคอนโทรลเลอร์อีก วิธีการนี้จะทำให้ระบบ IT สามารถเข้าถึงข้อมูล OT ซึ่งแต่เดิมนั้นอาจเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้ใช้ หรือสามารถเข้าถึงได้เฉพาะช่วงเวลาที่สำคัญ และเป็นสถานการณ์ที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมากเท่านั้น เช่น ต้องหยุดระบบการผลิตของโรงงานที่กำลังทำงานนั้นก่อน
ใช้ความสามารถของ FDE ผ่านทางฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์
วิธีการใช้งาน FDE มีทั้งรูปแบบฮาร์ดแวร์ และแอป ทั้งสองแบบนั้นสามารถใช้แยกอิสระจากกันได้ โดยที่การใช้เกตเวย์ SIMATIC FDE จะสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ในระดับสนามที่ไม่ได้ต่อในแบบอัตโนมัติ หรือคอนโทรลเลอร์ที่มีการต่อเข้ากับบัสแบบถาวร ส่วนการใช้งานซอฟต์แวร์ เพียงติดตั้งแอป Field Data Enabler PROFINET ลงไว้ที่ SIMATIC IPC
การเก็บสะสมข้อมูลจะเป็นแบบขนานกันไปโดยอัตโนมัติผ่าน PROFINET ที่ต่อเอาไว้ แอปยังสามารถใช้การต่อผ่าน PROFINET นี้เพื่อเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้โดยตรงจากอุปกรณ์ภาคสนามที่ถูกต่อเข้ากับระบบ I/O แบบกระจายศูนย์ผ่าน IO-Link ยกตัวอย่างวิธีการทางข้อมูล OT ที่เกิดขึ้น เช่น ข้อมูลแสดงค่าสถานะที่มาจากเซนเซอร์ ด้วยวิธีการดังกล่าวจะสามารถส่งข้อมูลนี้ไปที่ระบบ IT ได้ ซึ่งการบรรจบกันของข้อมูลด้าน IT และ OT จะทำให้เกิดความเชื่อถือได้ สามารถตัดสินใจได้บนฐานของการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
นำไปปรับใช้ได้ง่าย
Field Data Enablement สามารถรวมเข้ากับระบบที่มีอยู่ได้โดยง่าย เนื่องจากไม่จำเป็นต้องดัดแปลงเซนเซอร์ใดๆ อีก ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้เซนเซอร์ที่มีอยู่แล้วมาทำงานแบบอัตโนมัติในเลเยอร์ OT เพื่อนำข้อมูลที่มีอยู่นั้นมาวิเคราะห์ในระดับที่สูงขึ้นในสภาพแวดล้อมของระบบ IT โดย FDE นั้นง่ายต่อการกำหนดองค์ประกอบ (configure) โดยไม่จำเป็นต้องสร้างโปรแกรม ดังนั้นแทนที่จะสร้างโปรแกรมที่จำเป็นต่อวิธีการ IoT นั้น เพียงแค่มีสิ่งที่ต้องการสำหรับ FDE เช่น การกำหนดองค์ประกอบของข้อมูลที่มีอยู่แล้ว นอกจากนี้ พารามิเตอร์บางอย่าง เช่น สภาพแวดล้อม และการอ้างอิงความหมายทางภาษาซึ่งเป็นพารามิเตอร์ที่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้โดยไม่ต้องมากำหนดหรือนิยามขึ้นมาใหม่อีก เหล่านี้คือตัวอย่างของวิธีการที่ Field Data Enablement ช่วยให้เกิดการหลอมรวมกันได้ระหว่างส่วน OT และ IT ภายในโรงงานทุกขนาด
ที่มา: Siemens