ผลกระทบต่อมอเตอร์ไฟฟ้าจากรัฐบัญญัติวัตถุดิบวิกฤติของ EU ในมุมมองของ IDTechEx

คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอ “รัฐบัญญัติวัตถุดิบวิกฤติ” (Critical Raw Materials Act) เพื่อ “รับรองสิทธิ์ของสหภาพยุโรป (EU) ในการจัดหาวัตถุดิบวิกฤติ เพื่อความมั่นคง, ความหลากหลาย, สามารถหาได้ และความยั่งยืน” รัฐบัญญัตินี้ได้แสดงเจตนาเป็นนัยสำคัญต่อเทคโนโลยีและตลาดต่างๆ แต่สิ่งหนึ่งที่เติบโตอย่างรวดเร็วด้วยการที่ให้ความไว้วางใจอย่างมากกับวัตถุดิบวิกฤติ คือ ตลาดยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยเฉพาะมอเตอร์ไฟฟ้า

มีเทคโนโลยีมอเตอร์ชนิดต่างๆ ที่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้แม่เหล็กถาวรได้ (Source: IDTechEx – “Electric Motors for Electric Vehicles 2024-2034”)

ตามรายงานการวิจัยล่าสุดของ IDTechEx เกี่ยวกับมอเตอร์ไฟฟ้า ได้คาดการณ์ว่า แม่เหล็กที่เป็นแร่หายากที่ใช้ในมอเตอร์ของ EV จะมีความต้องการต่อปีเกิน 1 พันล้านกิโลกรัม ภายในปี พ.ศ. 2574 จากกรณีที่กล่าวถึงนั้น จึงมีประเด็นพิจารณาต่อไปว่า รัฐบัญญัติใหม่นี้จะส่งผลกระทบอย่างไรบ้างในตลาด EV

ยุโรปต้องพึ่งพาภูมิภาคอื่นอย่างมากสำหรับแหล่งที่มาและกระบวนการด้านวัตถุดิบเชิงกลยุทธ์ โดยมีหมวดหนึ่งที่มีความสำคัญในรัฐบัญญัตินี้ คือ แร่ธาตุหายากที่ใช้เป็นแม่เหล็ก ได้แก่ Nd, Pr, Tb, Dy, Gd, Sm และ Ce ขณะที่เนื้อหาส่วนใหญ่ตามรัฐบัญญัติได้มุ่งไปที่วิธีดำเนินการกับวัสดุเหล่านี้ใน EU ให้มากขึ้น ทั้งการสกัด (เป็น 10% จาก 3% ในขณะนี้), กรรมวิธีและการทำให้บริสุทธิ์ (40%) และการรีไซเคิล (15%) ตามรัฐบัญญัติดังกล่าว ต้องยอมรับว่า EU ยังไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ตามข้อพิจารณานี้ แต่ก็มีเป้าหมายว่า จะไม่พึ่งพาประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นการเฉพาะมากกว่า 65% ของวัตถุดิบเชิงกลยุทธ์ในแต่ละรายการ

มอเตอร์ไฟฟ้าที่มีอยู่ในยานยนต์ EV ได้ใช้ประโยชน์อย่างมากจากแม่เหล็กที่เป็นแร่หายาก โดยในปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกใช้แร่หายากซึ่งเป็นพื้นฐานของมอเตอร์แบบแม่เหล็กถาวร (permanent magnet; PM) ถึง 82% ในขณะที่กลยุทธ์ทางเลือกของผู้ผลิต OEM ในยุโรป อย่างเช่น Renault, BMW, Mercedes และ Audi ต่างนำเสนอเทคโนโลยีแบบไร้แม่เหล็ก (magnet free) รวมทั้งมอเตอร์แบบโรเตอร์พันขดลวด (wound rotor motor) และมอเตอร์เหนี่ยวนำ (induction motor) อย่างไรก็ตาม จากการวิจัยของ IDTechEx พบว่าส่วนแบ่งการตลาดในยุโรปปี 2565 สำหรับมอเตอร์เหล่านี้มีน้อยกว่า 23% (ยุโรปเป็นภูมิภาคที่ OEM ให้ความสำคัญกับมอเตอร์แบบไร้แม่เหล็กมากที่สุด)

เมื่อพิจารณาถึงข้อบังคับการรีไซเคิลและปริมาณแม่เหล็ก รัฐบัญญัติได้กำหนดความรับผิดชอบให้กับหน่วยงานที่วางตลาดยานยนต์ที่ใช้มอเตอร์หรือเครื่องมือขนาดเบาที่ใช้ในการขนส่ง ต้องสำแดงองค์ประกอบไม่ว่าจะมีหรือไม่ทั้ง PM, วงศ์ของ PM (NdFeB, SmCo, AlNiCo, Ferrite) และตำแหน่งของมอเตอร์ไฟฟ้าภายในยานยนต์ พร้อมขั้นตอนการถอดส่วนประกอบนั้น ข้อบังคับนี้จะเป็นการช่วยผู้รีไซเคิลเมื่อถึงเวลาต้องดำเนินการกับมอเตอร์ที่หมดอายุการใช้งาน ในกรณีที่มี PM เกิน 0.2 กก. (โดยทั่วไปแล้วมอเตอร์ไฟฟ้าของรถยนต์ไฟฟ้าจะมี PM 1-3 กก.) ส่วนของ Nd, Dy, Pr, Tb, B, Sm, Ni และ Co ที่ฟื้นคืนมาภายหลังการเป็นของเสียจากผู้บริโภค จะต้องจัดทำเป็นสารสนเทศต่อสาธารณะ อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดในแต่ละส่วนที่ได้จากการรีไซเคิลตามที่ต้องการนั้น จนถึงบัดนี้ยังไม่ได้กำหนดไว้

แม้ว่ารัฐบัญญัติจะกำหนดเป้าหมายเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบของ EU แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ กฎหมายนี้ไม่ได้กำหนดว่าจะสามารถบรรลุผลสำเร็จในด้านอุปสงค์ได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น OEM บางรายอาจใช้ตัวเลือกแบบไร้แม่เหล็ก ซึ่งช่วยลดความต้องการแร่หายากลงได้อย่างมาก แต่อีกรายอาจไม่ใช้ตัวเลือกนี้ ซึ่งไม่ได้สะท้อนถึงเจตนาในรัฐบัญญัติดังกล่าว หากเป็นความจริงที่ว่า OEM ที่ไม่ใช้ PM ไม่ต้องมาประกาศหรือกังวลเกี่ยวกับส่วนประกอบของแม่เหล็กที่รีไซเคิลนั้นแล้ว ประเด็นนี้จึงไม่น่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการลดปริมาณ PM ซึ่งการลดลงของปริมาณ PM ต่อมอเตอร์ หรือนำ PM ไปใช้กับยานยนต์ขนาดเล็กให้มากขึ้น ก็จะลดความต้องการลงด้วยเช่นกัน ซึ่งช่วยบรรเทาความต้องการได้ แต่แนวทางนี้กลับไม่ได้นำมาพิจารณากันอีก

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเบาแห่ง EU หรือ LEVA-EU (Light Electric Vehicle Association) ได้ชี้ให้เห็นด้วยข้อเสนอแนะกลับไปยังคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปว่า น้ำหนักแม่เหล็ก 0.2 กก. มีความหมายว่า ยานยนต์บางประเภท เช่น จักรยานไฟฟ้าจะได้รับการยกเว้น แต่จักรยานไฮบริดที่เกี่ยวเนื่องกันนั้นอาจไม่ได้รับการยกเว้น จึงทำให้เป็นเรื่องยากขึ้นไปอีกสำหรับเทคโนโลยีบางอย่างหรือบางบริษัทที่จะดำเนินการ นอกจากนี้ ยังเห็นได้ชัดอีกว่า การจัดหาชิ้นส่วนสำหรับ LEV (ยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเบา) นั้นไม่เพียงพออยู่แล้ว ดังนั้นบริษัทต่างๆ (โดยเฉพาะ SME) จึงมีทางเลือกน้อยลงในการจัดหาชิ้นส่วนของพวกเขา รัฐบัญญัตินี้อาจทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อบริษัทที่จัดหาชิ้นส่วนระหว่างสหภาพยุโรปกับภูมิภาคนอกสหภาพยุโรป

ตามความเห็นของ IDTechEx “รัฐบัญญัติวัตถุดิบวิกฤติ” ของ EU ในรูปแบบปัจจุบันจะส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อการออกแบบมอเตอร์แบบไร้แม่เหล็กเพื่อนำมาใช้กับ EV ส่วนใหญ่ โดยมีต้นทุนเริ่มต้นและความผันผวนของราคาวัสดุเป็นตัวขับเคลื่อนที่ใหญ่กว่ามาก อย่างไรก็ตาม รัฐบัญญัติดังกล่าวควรเริ่มผลักดันด้วยการมุ่งไปที่การรีไซเคิลแร่หายาก ซึ่งในปัจจุบัน ทำกันอยู่ในระดับเล็กน้อยเท่านั้น

ในกรณีที่ตลาดมีอุปทานมอเตอร์มากขึ้น ส่วนประกอบจากการรีไซเคิลจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น หรือการออกแบบมอเตอร์โดยปราศจากแม่เหล็ก อาจกลายเป็นจุดที่สร้างความแตกต่างได้สำหรับผู้ผลิตมอเตอร์ที่ขายใน EU แต่ในกรณีตรงข้ามกัน คือ ชิ้นส่วนขาดตลาด สิ่งนี้จะทำให้ยากขึ้นอีกสำหรับผู้ผลิตยานยนต์ขั้นสุดท้ายหากต้องปฏิบัติตามรัฐบัญญัติที่เสนอใหม่นี้

ที่มา: IDTechEx

About pawarit

Check Also

อีโวลท์ เทคโนโลยี ร่วมกับ เจนตารี จับมือโรงพยาบาลเครือ BDMS ลุยติดตั้งจุดชาร์จรถไฟฟ้ากว่า 4 สถานีชาร์จไฟ ในสถานพยาบาลชั้นนำในเครือทั่วจังหวัดระยอง

เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2567 บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด ร่วมกับ เจนตารี บริษัทชั้นนำในการให้บริการด้านพลังงานสะอาด ประกาศความร่วมมือ ในการติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ที่ได้ดำเนินการติดตั้งเสร็จสิ้นเเล้ว …

PRAKAAN (ปราการ) ซิงเกิลมอลต์วิสกี้ระดับพรีเมียมแบรนด์แรกของคนไทย ความลงตัวอันสมบูรณ์แบบจากธรรมชาติ พร้อมด้วยความมุ่งมั่นและเชี่ยวชาญสู่ความภาคภูมิใจระดับสากล

เพราะผู้บริโภคยุคใหม่เปิดรับประสบการณ์ที่แตกต่างให้กับชีวิต เพื่อเติมเต็มไลฟ์สไตล์ให้เต็มเปี่ยมในทุกมิติ บริษัท ไทยเบฟมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการส่งมอบประสบการณ์ใหม่ๆ ของเสน่ห์อันน่าหลงใหลและความละเมียดละไมแห่งโลกวิสกี้ นำมาสู่การเปิดตัว “PRAKAAN” (ปราการ) ผ่านเรื่องราวอันลึกซึ้งจากแนวคิด “Irresistible Quest, Unforgettable Taste” …