CIC PAVE การจัดซื้อจัดหาแบบอัตโนมัติ ช่วยให้ผู้ผลิตระดับ SMB สามารถควบคุมระบบนิเวศของซัพพลายเออร์ที่ไม่พร้อมใช้ EDI ผ่านทางเว็บได้ง่าย

Cleo ผู้บุกเบิกและหนึ่งในผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์บูรณาการระบบนิเวศ (Ecosystem Integration) และเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มคลาวด์ CIC (Cleo Integration Cloud) ได้ประกาศความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญสำหรับ Procure-to-Pay ซึ่งเป็นวิธีการแบบอัตโนมัติในกระบวนการทางธุรกิจ โดยการเพิ่มขีดความสามารถให้แก่โรงงานผู้ผลิต ให้ดำเนินการได้ในแบบอัตโนมัติกับระบบนิเวศของซัพพลายเออร์ที่ยังขาดความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI)

Procure-to-Pay รูปแบบใหม่ของการจัดซื้อจัดหาแบบอัตโนมัติ (CIC PAVE) ของ Cleo ช่วยให้โรงงานผู้ผลิตในธุรกิจขนาดเล็กและกลาง สามารถควบคุมระบบนิเวศของซัพพลายเออร์ผ่านทางเว็บที่ใช้ได้ง่าย และยังสามารถทำธุรกรรม EDI ได้ในแบบอัตโนมัติ (Graphic: Business Wire)

วิธีการใหม่นี้เรียกว่า CIC PAVE (Procurement Automation and Vendor Enablement) เป็นส่วนเสริมเชิงกลยุทธ์ให้กับแพลตฟอร์มบูรณาการ B2B ของ Cleo ที่มีบริษัทต่างๆ ใช้กันอย่างแพร่หลายกว่า 4,100 บริษัททั่วโลก

ความสามารถใหม่ที่เพิ่มขึ้นนี้ จะเป็นการสร้างมาตรฐานและเป็นศูนย์กลางดำเนินการระหว่างกันกับซัพพลายเออร์ผ่านช่องทางออนไลน์ ช่วยให้โรงงานผู้ผลิตขยายผลห่วงโซ่อุปทานให้เป็นรูปแบบดิจิทัลไปยังซัพพลายเออร์และผู้ค้าที่ไม่รองรับ EDI หรือยังไม่พร้อมใช้ API โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง

จากผลวิจัยของ Wakefield พบว่า 84 เปอร์เซ็นต์ (84%) ของธุรกิจขนาดเล็กและกลาง (SMB) ยังใช้กระบวนการแบบแมนนวล นั่นหมายความว่า การดำเนินงานตามปกติของพวกเขานั้นยังขาดความสามารถในการบูรณาการด้าน EDI/API ซึ่งเป็นข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับบริษัทต่างๆ แทบทุกแห่งต้องปฏิบัติเมื่อต้องทำธุรกรรมในโลกดิจิทัลยุคปัจจุบัน

เมื่อสิ่งที่ขาดหายนี้ไปเกิดขึ้นในวงกว้าง จึงเหมือนกับห่วงโซ่อุปทานแตกออกเป็นส่วนๆ การสื่อสารระหว่างบริษัทและซัพพลายเออร์ของพวกเขามักเกิดข้อผิดพลาดและไม่สอดคล้องกัน และเพิ่มโอกาสที่จะเกิดความล้มเหลวจากการดำเนินการระหว่างกันเป็นแบบแมนวล นอกจากนั้น ผู้ผลิตและคู้ค้าในระบบนิเวศยังสูญเสียรายได้และความสามารถในการทำกำไรลดลง

Mahesh Rajasekharan ซีอีโอของ Cleo กล่าวว่า “ผู้ผลิตรายใดก็ตามที่ยังคงพึ่งพากระบวนการแบบแมนวล เช่น ใช้โทรศัพท์ โทรสาร หรืออีเมลในการจัดการคำสั่งซื้อ การตอบรับ การจัดส่ง หรือการออกใบแจ้งหนี้กับซัพพลายเออร์ นั่นคือ เขากำลังทำให้ธุรกิจนั้นตกอยู่ในความเสี่ยง”

“CIC PAVE ทำให้ห่วงโซ่อุปทานที่ล้าสมัยเหล่านั้นสามารถเปิดไปสู่โลกดิจิทัลได้ทันที สามารถใช้ EDI แบบอัตโนมัติได้กับระบบนิเวศของคู่ค้า เป็นการสร้างวิธีดำเนินการแบบไร้รอยต่อได้โดยไม่ผิดพลาด โรงงานผู้ผลิตจะต้องคงความสามารถในการบูรณาการทางดิจิทัลเอาไว้ เพื่อให้แข่งขันได้ในยุคปัจจุบันที่การเปลี่ยนไปสู่รูปแบบดิจิทัลนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว”

การมองเห็นได้และความสามารถในควบคุมภายในห่วงโซ่อุปทาน การนำผู้ค้าไปอยู่ที่ระบบคลาวด์ CIC ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้ เช่น

  • การตัดวิธีปฏิบัติระหว่างกันในแบบแมนวลที่เป็นระบบนิเวศของซัพพลายเออร์ ส่งผลให้ประสิทธิภาพของทีมงานดีขึ้น และลดต้นทุนการจัดซื้อ
  • การสร้างธุรกรรม EDI ที่เป็นมาตรฐาน สามารถบูรณาการเข้ากับ ERP ได้โดยอัตโนมัติ
  • การเพิ่ม “ความสามารถด้าน EDI” ให้กับซัพพลายเออร์ โดยที่ซัพพลายเออร์เหล่านั้นไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญด้าน EDI หรือด้านการลงทุน

ทั้งหมดนี้เป็นการยกระดับกระบวนการทางธุรกิจตั้งแต่การจัดซื้อจัดหาไปถึงการชำระเงิน (procure-to-pay) ให้เป็นไปโดยอัตโนมัติ สามารถทำได้ง่ายกว่าที่เคยเป็นมา และได้นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพอย่างมากให้กับบริษัทที่เป็นโรงงานผู้ผลิต

ที่มา: Cleo Integration Cloud

About pawarit

Check Also

Nio จับมือกับ CATL พัฒนาแบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าเดิม และเตรียมเปิดตัว Onvo รถยนต์ EV แบรนด์ที่สองในเดือน พ.ค. นี้

Nio กล่าวว่าระยะเวลาการรับประกันแบตเตอรี่ EV โดยเฉลี่ยคือ 8 ปี เป็นที่คาดกันว่ารถยนต์ไฟฟ้าเกือบ 20 ล้านคันจะสิ้นสุดระยะเวลาการรับประกันคุณภาพในช่วงระหว่างปี 2025 ถึง 2032 โดยที่เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ตามมา …

ทำไม Tesla ต้องใช้ที่ดินมากถึง 2,000 ไร่ เพื่อตั้งจัดโรงงาน EV ในไทย แต่ทางกลับกัน BYD ใช้เพียง 600 ไร่เท่านั้น

Tesla ต้องการที่ดินมากถึง 2,000 ไร่ หากจะให้พวกเขาลงทุนในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า EV ในประเทศไทย แต่การวางผังเมืองอาจจะไม่สนับสนุน โดย Tesla กำลังพิจารณาที่ดินในเขตลาดกระบัง แต่ก็ยังต้องรอดูว่าข้อตกลงจะสามารถปิดได้โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการวางผังเมืองหรือไม่ และอาจส่งผลต่อความล่าช้าที่จะเริ่มต้นสร้างโรงงาน การเผชิญกับความท้าทายในการวางผังเมืองนี้