ตลาดรถยนต์ในประเทศไทยพึ่งพาแบรนด์จากประเทศอื่น และรถยนต์ส่วนใหญ่ในประเทศผลิตโดยผู้ผลิตรถยนต์ต่างประเทศที่มาตั้งโรงงานในประเทศ ในฐานะผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดและตลาดจำหน่ายรถยนต์รายใหญ่อันดับสองของประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่อันดับสามของเอเชีย รองจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ โดยกว่าครึ่งหนึ่งของรถยนต์ที่ผลิตในประเทศถูกส่งออก
Image Credit : KrASIA
จากสถิติของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ปี 2565 มีการผลิตรถยนต์ในประเทศไทย 1,880,000 คัน โดยจำหน่ายในประเทศ 840,000 คัน และส่งออก 1,000,000 คัน โดยศูนย์วิจัย Vision Thai Research Center ของไทยได้คาดการณ์ว่าขนาดของตลาดโดยรวมสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์ (BEV) มีแนวโน้มที่จะสูงถึง 50,000 คันภายในปี 2566 นี้ ซึ่งจะเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้น 270% เมื่อเทียบเป็นรายปีที่ 13,454 คันในปี 2565 ก่อนหน้า
รถยนต์ไฟฟ้าของจีน (EVs) กำลังค้นหาโอกาสในการเติบโตในประเทศไทย เนื่องจากประเทศต่างๆ เคลื่อนไหวเพื่อจูงใจให้ซื้อรถยนต์พลังงานทดแทน ซึ่งทำให้ผู้ผลิตรถยนต์จีนมองเห็นโอกาสการทำกำไรในตลาดไทย
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ประเทศไทยได้เปิดเผยรายชื่อรถยนต์ EV ที่จดทะเบียนแล้ว โดยแสดงถึงความโดดเด่นของผู้ผลิตรถยนต์ EV จากจีน โดยรายชื่อแบรนด์ 3 อันดับแรกมีดังนี้
- BYD ที่มี Atto 3 เป็นผู้นำอันดับ 1 ด้วยมูลการลงทะเบียนที่น่าประทับใจกว่า 2,068 รายการ
- Neta V ของ Hozon คว้าอันดับ 2 ด้วยจำนวนการลงทะเบียน 1,254 รายการ
- Tesla Model Y เป็นเพียงแบรนด์เดียวที่ไม่ใช่แบรนด์จากจีน มีจำนวนการลงทะเบียน 534 รายการ
BYD และ Neta Motors ได้ประกาศเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 เกี่ยวกับโครงการการผลิตของตนในแผ่นดินประเทศไทย ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มความน่าสนใจที่เพิ่มขึ้นในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของผู้ผลิตรถยนต์จากประเทศจีน ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคในประเทศไทยและนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
“นอกจากนี้ SAIC, Great Wall, BYD และ NIO บริษัทรถยนต์ของจีน ยังเคยมุ่งเป้าไปที่การส่งออกรถยนต์ไปยังยุโรปเป็นหลัก”
ผู้ผลิตรถยนต์ในจีนรายแรกๆ ที่ประสบความสำเร็จในตลาดไทยคือกลุ่มบริษัท SAIC เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2555 บริษัทได้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับกลุ่มบริษัทซีพีที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย และแบรนด์ MG เข้าสู่ตลาดในประเทศไทยอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2557 ข้อมูลจากช่วงเวลาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ารถยนต์ MG มียอดจำหน่ายในประเทศไทยจำนวนมากถึง 31,005 คัน ซึ่งจัดอยู่ใน 10 อันดับแรกของรถยนต์แต่ละยี่ห้อที่มีจำหน่ายในประเทศไทย
หลายปีต่อมา Great Wall Motor เข้าสู่ตลาดประเทศไทยในปี 2564 รถรุ่น ORA ได้รับความนิยมอย่างมากจนผู้แทนจำหน่ายในกรุงเทพฯ หลายรายต้องเร่งความพยายามอย่างหนักเพื่อให้ส่งมอบทันกับความต้องการ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกันยายน 2565 Great Wall Motor ขายรถ EV ได้มากกว่า 8,000 คันในประเทศไทย สร้างความโดดเด่นในการเป็นแบรนด์รถยนต์พลังงานใหม่ที่มียอดขายสูงสุดในประเทศ จากการเปิดตัวรถยนต์หลายรุ่นในตลาดประเทศไทย ได้แก่ Haval H6 HEV, JOLION HEV และ ORA
- ก่อนหน้านี้ ผู้ผลิตรถยนต์ของจีนเคยขยายธุรกิจไปทั่วโลกผ่านการเข้าซื้อกิจการในตลาดต่างประเทศ
- ปัจจุบัน ผู้ผลิตรถยนต์ของจีนปรับแผนโดยใช้ประโยชน์จากโอกาสในการสำรวจ value chain ของอุตสาหกรรมยานยนต์ผ่านแนวทางใหม่ๆ เช่น การมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยี บริการ และการสร้างแบรนด์
EV100 PLUS ซึ่งเป็นสถาบันในจีนที่เชี่ยวชาญด้านการวิจัย EV สรุปว่าผู้ผลิตรถยนต์จีนให้ความสำคัญกับตลาดขนาดใหญ่ของประเทศไทย สวัสดิการที่ดี และนโยบายที่เอื้ออำนวยต่อการเติบโต
ในความพยายามที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิตและฐานการส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางการไทยได้กำหนดนโยบายที่เรียกว่า “30@30” ความหมายของแนวคิดนี้ คือ
- อัตราการทดแทนรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศในประเทศไทยจะต้องสูงกว่า 30% ภายในปี 2573
- กำลังการผลิตรถยนต์พลังงานใหม่จะต้องสูงกว่า 30% ภายในปี 2573
นโยบายอื่นๆ จากหน่วยงานภาครัฐของไทย
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของไทยให้ยกเว้นภาษีเงินได้แก่นิติบุคคลสำหรับซัพพลายเออร์รถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่างๆ เป็นเวลาสูงสุด 8 ปี
- คณะกรรมการนโยบายรถยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติได้ออกแผนการเปลี่ยนผ่านสู่การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์เพื่อสนับสนุนแผนดังกล่าว
- กระทรวงการคลังของไทยได้ลงทุน 2,900 ล้านล้านบาท (85.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เป็นส่วนหนึ่งของเงินอุดหนุนการซื้อรถยนต์เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อและเลือกขับรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น
ปัจจุบันมี 18 โครงการที่ดำเนินการในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตแบตเตอรี่ การผลิตโมดูล และการประกอบโมดูล
การเปลี่ยนผ่านและความท้าทายสำหรับผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของจีน
- Deloitte ระบุในรายงานเรื่อง The Leap from Going Overseas to Globalization: The 2nd Growth Curve for Chinese OEMs ว่าผู้ผลิตรถยนต์จีนได้เปลี่ยนแปลงตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจากแนวทางที่เน้น “product export” เป็น “value chain globalization”
- ผู้ผลิตรถยนต์ของจีนกำลังสำรวจตลาดต่างประเทศผ่าน value chain เต็มรูปแบบ เช่น การวิจัยและพัฒนา การผลิต โลจิสติกส์และการขนส่ง และการเงินยานยนต์ เพื่อปูทางสำหรับการส่งออกรถยนต์และผลิตภัณฑ์แบรนด์จีนอย่างครบวงจร
- An Conghui ประธาน Geely Holding Group และ CEO ของ ZEEKR Intelligent Technology ระบุว่าอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานใหม่ของจีนมีการแข่งขันในระดับสากลเนื่องจากความพยายามของรัฐบาลจีนที่ลงทุนในอุตสาหกรรมนี้กว่าหนึ่งทศวรรษ “การสำรวจตลาดต่างประเทศในวงกว้างจะช่วยปลดล็อกนวัตกรรมและการเติบโตต่อไปได้” เขากล่าวในงาน China EV 100 Forum ที่จัดขึ้นเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา
- Deng Chenghao ซีอีโอของ Deepal Motor กล่าวกับ EV100 PLUS ว่า “ผู้บริโภคในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพฤติกรรมการบริโภคที่คล้ายคลึงกับผู้บริโภคในจีน และตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีศักยภาพในระดับสูง”
ก่อนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะได้รับความสนใจ ยุโรปเป็นเป้าหมายหลักสำหรับ EV ซึ่งทำให้ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดอย่างเข้มข้น แต่ผ่านไปเพียงแค่หนึ่งปีของการพัฒนา ผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ก็ยังไม่สามารถค้นพบช่องทางใหม่ที่จะทำมีการเติบโตในพื้นที่โซนยุโรปได้เลย นี่คือ จุดเปลี่ยนของเข็มทิศที่มุ่งเป้ามาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย และปัจจัยที่สำคัญของการสำรวจความต้องการของตลาด EV คือ
“หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ระบบพวงมาลัยขวา นั่นหมายความว่า OEM ในประเทศจีนต้องปรับแต่งแชสซีและส่วนประกอบอื่นๆ ปรับสายการผลิต และพัฒนาแม่พิมพ์ใหม่ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้เงินหลายหมื่นล้านหยวน”
รถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นมีสัดส่วนมากถึง 90% ของตลาดในประเทศไทย และเป็นบริษัทรายแรกๆ ที่เข้ามาบุกเบิกฐานการผลิตในแผ่นดินสยาม ซึ่งครองตลาดด้วยกำลังผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงทำให้ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อห่วงโซ่อุตสาหกรรมยานยนต์ ช่องทางตัวแทนจำหน่าย ซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนต้นน้ำและปลายน้ำ และห่วงโซ่อุปทานการผลิตอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนผ่านสู่ EV ของผู้ผลิตญี่ปุ่นในไทยค่อนข้างซบเซาไปบ้างเนื่องจากมีการเปลี่ยนผ่านช้า ส่งผลให้ผู้ผลิตจีนมีโอกาสเร่งการผลิตและแซงหน้าแบรนด์ญี่ปุ่นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
ปัจจุบัน ผู้ผลิต EV ของจีนกำลังรุกคืบเข้ามาในประเทศไทย และได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ความต้องการที่เติบโตเพิ่มขึ้น ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากนโยบายของภาครัฐที่มีส่วนสนับสนุนให้รถยนต์ไฟฟ้าของจีนในไทยเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจุดเปลี่ยนที่สำคัญแห่งความสำเร็จนี้ มาจากการเปลี่ยนจากยุโรปมายังตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสามารถผลักดันให้ผู้ผลิตรถยนต์จีนตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในท้องถิ่นและสามารถก้าวขึ้นมาเบียดแย่งพื้นที่ความเป็นผู้นำของผู้ผลิต EV จากญี่ปุ่นได้ นอกเหนือจากการเร่งการผลิตแล้ว แผนการขยายปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จให้ครอบคลุมตลอดเส้นทางการขับขี่จะเป็นอีกหนึ่งตัวแปลสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นการตัดสินใจของผู้บริโภคให้เปลี่ยนจากน้ำมันเชื้อเพลิงสู่พลังงานสะอาด EV ได้
ที่มา : KrASIA