“Chevron” บุกเบิกเทคนิคการนำแท่นหลุมผลิตกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ รายแรกในอ่าวไทย

จากจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติเชิงพาณิชย์รายแรกในอ่าวไทยเมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว  จนในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ยุคของการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียมที่ไม่ใช้ประโยชน์ต่อ  เชฟรอนยังคงความเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยนำเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญระดับโลกพร้อมทั้งประสบการณ์อันยาวนานในการดำเนินงานในประเทศ มาสนับสนุนกิจกรรมการรื้อถอนในอ่าวไทยให้เป็นไปอย่างปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการริเริ่มโครงการ “การรื้อถอนส่วนบนของแท่นหลุมผลิตมาใช้ประโยชน์ใหม่” หรือที่เรียกว่า “Topside Reuse” ครั้งแรกในอ่าวไทย  

การรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานในกิจการปิโตรเลียม ที่เกิดขึ้นเมื่อระยะเวลาการผลิตปิโตรเลียมสิ้นสุดลง หรือ ไม่ได้ใช้งานอีกต่อไป โดยหนึ่งในแนวทางที่ได้รับความนิยมในระดับสากล คือการรื้อถอนสิ่งติดตั้งและอุปกรณ์ต่างๆ โดยนำไปบริหารจัดการบนฝั่ง ตามข้อกำหนดด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมตามกฎหมาย  

ด้วยเล็งเห็นถึงโอกาสในการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด และเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนจากการดำเนินงาน บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด จึงริเริ่มโครงการการรื้อถอนส่วนบนของแท่นหลุมผลิตมาใช้ประโยชน์ใหม่ ในปี พ.ศ. 2560 นับตั้งแต่การบุกเบิกแนวคิดสู่การวางแผนงานทางด้านวิศวกรรมโดยละเอียด ครอบคลุมเทคนิควิธีการที่ทันสมัย ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 

ดร. ปัณวรรธน์ นิลกิจศรานนท์ รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายวิศวกรรมโครงสร้าง บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า “โครงสร้างของแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมทำจากเหล็กกล้า (carbon steel) ที่จัดสร้างเพื่อใช้งานในทะเลโดยเฉพาะ มีความมั่นคงแข็งแรง และมีอายุการใช้งานยาวนาน จึงสามารถนำโครงสร้างเหล่านี้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ ซึ่งด้วยเทคนิค Topside Reuse นี้ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนติดตั้งแท่นผลิตปิโตรเลียมใหม่ ยังช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยสำคัญ โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา ผลสำเร็จจากการรื้อถอนส่วนบนของแท่นหลุมผลิตมาใช้ใหม่ จำนวน 4 แท่น ทำให้เชฟรอนสามารถลดปริมาณการจัดการของเสียจากเหล็กที่เกิดจากการรื้อถอนมากถึง 2,500 ตัน ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึง 3,000 ตัน เทียบเท่ากับการดูดซับคาร์บอนของต้นไม้ที่เติบโตมานาน 10 ปี จำนวน 49,605 ตัน นับเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

โครงการดังกล่าว ยังได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดโครงการนวัตกรรมการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมครั้งที่ 10 ประจำปี พ.ศ. 2562 (SPE Thailand E&P Awards 2019) จัดโดยสมาคมวิศวกรปิโตรเลียมนานาชาติ สาขาประเทศไทย ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ที่เชฟรอนไม่เคยหยุดยั้งในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานทุกๆ ด้านรวมถึงการรื้อถอนมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ เทคนิค Topside Reuse นี้ ยังสอดคล้องกับเป้าหมายที่ 12 ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ด้านการสร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Ensure sustainable consumption and production patterns) และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ของประเทศไทยภายในปี พ.ศ.2608

ทั้งนี้ เชฟรอนมีความมุ่งมั่นปฏิบัติตามความรับผิดชอบในการรื้อถอนตามที่ได้ตกลงไว้ในสัญญาสัมปทาน โดยได้ดำเนินการต่างๆ ตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กิจกรรมการรื้อถอนมีความปลอดภัยและมาตรฐานสิ่งแวดล้อมสูงสุด ควบคู่ไปกับภารกิจสนับสนุนความมั่นคงทางพลังงานของประเทศได้อย่างต่อเนื่อง     

ที่มา : https://www.apac-business.com/companies/esg-sustainability/chevrons-successful-reuse-of-wellhead-platforms-topside-making-a-historic-milestone-in-the-gulf-of-thailand/

About pawarit

Check Also

Molex เปิดเผยพัฒนาการของยานยนต์ เมื่อเปลี่ยนสถาปัตยกรรมกำลังไฟฟ้าไปเป็นระบบ 48 โวลต์

Molex ผู้นำด้านอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลกและผู้สร้างนวัตกรรมการเชื่อมต่อ ออกรายงานฉบับใหม่เกี่ยวกับกระแสความนิยมที่กำลังมาแรงของเทคโนโลยีระบบไฟฟ้า 48 โวลต์ ที่จะมากระตุ้นการปรับปรุงครั้งสำคัญให้กับยานยนต์ ทั้งในด้านสมรรถนะ ประสิทธิภาพ การใช้งานตามหน้าที่ และความสะดวกสบาย

แนะนำหนังสือน่าอ่าน “LEAN Process Management – รื้อกระบวนการธุรกิจ เพื่อพิชิตวิกฤตโลกใหม่” พร้อมบทนิยมจากผู้บริหาร Honeywell (Thailand)

LEAN Process Management เป็นหนังสือที่ถูกเรียบเรียงเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิดในการปรับกระบวนการธุรกิจให้ทันสมัย เพื่อสอดรับความท้าทายแห่งยุคในการขับเคลื่อนองค์กรธุรกิจสู่อนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน เขียนและเรียบเรียงโดยทีมงาน Eng.Siripong Jungthawan – วศ.สิริพงศ์ จึงถาวรรณ LEAN MASTER ผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ด้านภาควิชา Logistics …