เชฟรอน ส่งมอบ “ส่วนบนของแท่นหลุมผลิต” แก่ CPOCเพื่อนำมาใช้ใหม่ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย หรือ JDA

บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด นำโดย นายเสรี เม่งช่วย (ซ้าย) หัวหน้ากลุ่มวิศวกรรมและใบอนุญาตในกิจกรรมการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่เลิกใช้งานในกิจการปิโตรเลียม เป็นตัวแทนบริษัทฯ ร่วมในพิธีลงนามส่งมอบส่วนบนของแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมให้กับบริษัท Carigali – PTTEPI Operating Company Sdn. Bhd. (CPOC) นำโดย นายวีระพงษ์ ติวะนันทกร (ขวา) ผู้จัดการโครงการ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ใหม่สำหรับการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย(Joint Development Area – JDA) โดยมีผู้แทนจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด พร้อมด้วย บริษัท มิตซุย ออยล์ เอ็กซ์พลอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ร่วมทุน ได้ส่งมอบส่วนบนของแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม (Topside) พร้อมอุปกรณ์จำนวน 1 แท่น ให้แก่ บริษัท Carigali – PTTEPI Operating Company Sdn. Bhd. (CPOC) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินงาน (operator) ในพื้นที่เขตพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (Joint Development Area – JDA) สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ใหม่ในการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ JDA โดยมีเจ้าหน้าที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน

การโอนส่วนบนของแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ใหม่ในพื้นที่ JDA ในการติดตั้งหลุมผลิตเพิ่ม ได้รับการอนุมัติจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน และจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง หลังจากที่ได้มีการ ลงนามสัญญาซื้อขายไปเมื่อ 31 กรกฎาคม 2567 ซึ่งการส่งมอบในครั้งนี้จะช่วยลดการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียมในต่างประเทศ และลดปริมาณการจัดการของเสียจากเหล็กที่เกิดจากการรื้อถอนประมาณ 576 ตัน ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศได้ถึง 690 ตัน นับเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ได้คิดค้นและริเริ่มโครงการ “การรื้อถอนส่วนบนของแท่นหลุมผลิตมาใช้ประโยชน์ใหม่” หรือ “Topside Reuse” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ซึ่งได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการนำเทคนิคนี้มาใช้ โดยปัจจุบัน เชฟรอนได้รื้อถอนส่วนบนของแท่นหลุมผลิตมาใช้ใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 12 แท่น ทำให้สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึง 10,000 ตัน เทียบเท่ากับการดูดซับคาร์บอนของต้นไม้ที่เติบโตมานาน 10 ปี กว่า 165,351 ต้น

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน นำโดย นายวิศรุต ตั้งสุนทรขัณฑ์ (ที่5 จากซ้าย) รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และคณะฯ เข้าเยี่ยมชมแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมที่ได้รับการส่งมอบ ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จ. ชลบุรี โดยมี นายอรรจน์ ตุลารักษ์ (ที่ 5 จากขวา) รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายโครงการร่วมทุน บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ให้การต้อนรับ ภายหลังจากที่ บริษัท เชฟรอน     ประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด พร้อมด้วย บริษัท มิตซุย ออยล์ เอ็กซ์พลอเรชั่น จำกัด ได้ส่งมอบส่วนบนของแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมที่ไม่ใช้งานแล้วให้กับ บริษัท CPOC เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ใหม่สำหรับการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย(Joint Development Area – JDA)

About pawarit

Check Also

การกลับมาของมนุษย์ เพื่อเป็นศูนย์กลางขับเคลื่อน Industry 5.0 ในอุตสาหกรรมการผลิต สู่ความยั่งยืนและยืดหยุ่น

Industry 5.0 ในภาคการผลิตที่ซึ่งมนุษย์และเครื่องจักรโต้ตอบกันแบบเรียลไทม์ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครั้งนี้ทำให้ผู้ผลิต พนักงาน และกระบวนการต่าง ๆ ทำงานอย่างสอดประสานโดยมีมนุษย์เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน ตั้งแต่การพิมพ์แบบ 3 มิติไปจนถึง AI กระบวนการผลิตอยู่ในจุดเปลี่ยนสำคัญ และเป็นครั้งแรกที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการให้ผู้ผลิตมีอำนาจในการดูกระบวนการของตนเองที่ชัดเจนมากขึ้น

เอสไอเอส บุกตลาดหุ่นยนต์ โคบอท จับมือ ดูบอท ผู้นำระดับโลกขยายตลาดในไทย

กรุงเทพฯ  ประเทศไทย – 17 มกราคม 2568 –  เอสไอเอส ผู้จัดจำหน่ายสินไอทีชั้นนำของไทย รุกตลาดหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน หรือ โคบอท ทดแทนการขาดแรงคนในภาคอุตสาหกรรม คว้าเป็นตัวแทนจำหน่าย  ดูบอท …