BOI นำเศรษฐกิจไทยเดินหน้าพลิกเกมด้วยกลยุทธ์การลงทุนใหม่

จากคํามั่นสัญญาการลงทุนด้วยมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ ที่ประกาศไว้เมื่อ พ.ศ. 2565 ของบริษัทด้านเทคโนโลยีชั้นนํา เช่น Foxconn Technology, BYD Co. และ Amazon Web Services ต่อมาในเดือนมกราคม 2566 ประเทศไทยเริ่มดําเนินการตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุน 5 ปี ด้วยความทะเยอทะยานมากขึ้น โดยมีเป้าหมายดึงดูดเทคโนโลยีขั้นสูงและอุตสาหกรรมต้นน้ำเข้ามา เพื่อนําประเทศไทยไปสู่ยุคใหม่ของการพัฒนาเศรษฐกิจ… นั่นคือ ส่วนหนึ่งของเนื้อหาในบทความพิเศษที่เผยแพร่โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ของประเทศไทย

บทความได้อ้างถึงเจ้าหน้าที่และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ที่อธิบายว่า ภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่ ประเทศไทยมีข้อเสนอจูงใจที่ดีมากขึ้นได้อย่างไร สิ่งเหล่านั้นมีทั้งการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี โดยไม่มีข้อจำกัดสำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมต้นน้ำและเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การผลิตแผ่นเวเฟอร์ เทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทค และวัสดุขั้นสูง นวัตกรรมที่จำเป็นต้องมี และการถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านความร่วมมือด้านการวิจัยกับหน่วยงานของไทย

กลยุทธ์ดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ประเทศไทยยังคงเป็นผู้สร้างสรรค์ทั้งด้านนวัตกรรม การแข่งขันได้ การครอบคลุม และกลายเป็นสถานที่แสดงนวัตกรรมดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นศูนย์กลางธุรกิจ การค้า และโลจิสติกส์ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายนั้น BOI ได้เสนอสิทธิพิเศษสำหรับนักลงทุนระยะยาวรายสำคัญให้กับผู้ที่จัดตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคและหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนา (R&D) และให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และกลุ่มธุรกิจสตาร์ตอัปเศรษฐกิจใหม่ในภาคส่วนต่างๆ เช่น สื่อดิจิทัลที่เติบโตเร็ว นอกจากนี้ สำหรับนักลงทุนบางประเภทและผู้มีความสามารถชาวต่างชาติชั้นนำ ยังมีโอกาสได้รับวีซ่าพำนักในระยะยาว 10 ปี

“เราจะใช้ BOI และการลงทุนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจใหม่” คำสัมภาษณ์ของเลขาธิการ BOI คุณนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์

เมื่อปี พ.ศ. 2565 มีการยื่นขอลงทุนใหม่จากบริษัทต่างๆ เช่น Amazon Web Services ซึ่งเป็นแผนกประมวลผลคลาวด์ของ Amazon.com Inc ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ได้ให้คำมั่นว่าจะลงทุน 5,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงหลายปี ขณะที่ BYD Co. ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของจีนได้ทุ่มเงิน 660 ล้านดอลลาร์ เพื่อสร้างฐานการผลิตแห่งแรกในอาเซียน และ Foxconn Technology ของไต้หวัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ประกอบ iPhone ที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งตอนนี้มีการแตกสาขาไปสู่ยานยนต์ EV ผ่านการร่วมทุนมูลค่ากว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ กับ ปตท. ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของไทย

ประเทศไทยยังคงเป็นผู้ผลิตรถยนต์ทั่วไปรายใหญ่ ในขณะที่เริ่มมีการลงทุน EV โดย BYD และ Foxconn รวมถึงการลงทุน EV ก่อนหน้านี้ของคู่แข่ง ทั้งมาจากจีน เช่น Great Wall Motor และ SAIC Motor จาก Mercedes-Benz ของเยอรมนี ที่เลือกประเทศไทยเป็นที่ตั้งแห่งแรกในภูมิภาคนี้ เพื่อสร้างรถยนต์ Mercedes-EQS ที่ใช้ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ นั่นหมายความว่า ประเทศไทยกำลังกลายเป็นศูนย์กลาง EV ของภูมิภาคอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ บรรยากาศการลงทุนในเชิงบวกยังถูกเติมเข้ามาเมื่อเดือนธันวาคม 2565 โดย Mr. Akio Toyoda หัวหน้าบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป หนึ่งในผู้ลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของประเทศ ได้เลือกกรุงเทพฯ เป็นที่จัดงานเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 60 ปี ของหน่วยธุรกิจโตโยต้าในประเทศไทย เพื่อเปิดตัวแบตเตอรี่ครั้งแรกสำหร้บยานยนต์ไฟฟ้าแบบใช้แบตเตอรี่ (BEV) ของรถกระบะบรรทุกไฮลักซ์ ซึ่งเป็นรุ่นที่ขายดีที่สุด และได้ประกาศความร่วมมือกับกลุ่มบริษัทซีพีในกรุงเทพฯ เพื่อเปลี่ยนชีวมวลทางการเกษตรให้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน เขายังบรรยายถึงประเทศไทยด้วยว่า ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทในเอเชีย เป็นที่ดูแลด้านวิศวกรรมและการผลิตใน 20 ประเทศ และทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนา ซึ่งถือเป็นบ้านหลังที่สองของเขา

บทความดังกล่าว ชี้ให้เห็นถึงภาคส่วนที่สำคัญอันเป็นแกนหลักทางกลยุทธ์ 5 ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาค Bio-Circular Green (BCG) ที่กำลังเติบโตในอุตสาหกรรมสีเขียว สมาร์ท พลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นเป้าหมายของอุตสาหกรรมทั้งต่างประเทศและในประเทศ และอีก 4 ด้านที่เหลือ ได้แก่ ห่วงโซ่อุปทานรถยนต์ไฟฟ้า การผลิตอุปกรณ์สมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ ภาคดิจิทัล และอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์

ในบรรดาบริษัทต่างชาติที่เลขาธิการ BOI คุณนฤตม์ ต้องการจะหว่านล้อมเข้ามา คือ บริษัทที่เผชิญกับแรงกดดันจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเทศนั้นให้ปฏิบัติตามข้อกังวลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (environmental, social and governance; ESG)

“ในขณะที่โลกมุ่งไปที่ ESG นักลงทุนต้องการพลังงานสะอาด และเราสามารถจัดหาได้” คุณนฤตม์ ได้กล่าวไว้ในบทความ “Thailand has the answer.”

ส่วนหนึ่งของบทความเป็นการสัมภาษณ์ของกลุ่มนักลงทุนในทิศทางที่เห็นด้วย “นั่นเป็นแผนงานที่ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลง เป็นการออกแบบเพื่อปรับโฉมภูมิทัศน์การลงทุน และมีความสำคัญต่อการนำอุตสาหกรรมที่พวกเขามุ่งเน้นให้เข้ามา” กล่าวโดย Vibeke Lyssand Leirvåg ประธานร่วมหอการค้าต่างประเทศในประเทศไทย ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทต่างชาติ 9,000 บริษัทที่กำลังทำธุรกิจในราชอาณาจักร และยังมีคำกล่าวเกี่ยวกับกลยุทธ์ด้วยว่า “BCG น่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างชาติจำนวนมาก และให้ความสำคัญกับกลยุทธ์นี้”

บทความดังกล่าวยังอธิบายว่า ประเทศแหล่งต้นทางของการลงทุนชั้นนำนั้นเข้ามาประเทศไทยอย่างไรในช่วงมีการแบ่งแยกทางภูมิรัฐศาสตร์ เนื่องจากประเทศไทยถูกมองว่าเป็นกลางและมีความยืดหยุ่นต่อวิกฤตการณ์ กลุ่มบริษัทจีนนั้นครองอันดับหนึ่งในปี พ.ศ. 2565 คิดเป็นมูลค่าทางบัญชีมากกว่าที่สัญญาไว้ 2.3 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่นักลงทุนญี่ปุ่นยังคงรั้งตำแหน่งที่ 1 เมื่อวัดจากจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติ และยังคงเป็นแหล่งสะสมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อวัดจากขนาดการลงทุน บริษัทของสหรัฐฯ อยู่ในอันดับที่สาม ตามมาด้วย ไต้หวัน และสิงคโปร์

นักลงทุนชี้ให้เห็นถึงความได้เปรียบของไทยเหนือจุดหมายปลายทางของคู่แข่ง ด้วยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของราชอาณาจักรอันเป็นหัวใจของตลาดผู้บริโภคที่มีความแข็งแกร่งจำนวน 685 ล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง “ความน่าอยู่” และ “เสถียรภาพ” ที่เห็นได้จากความสามารถในการคาดการณ์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจโดยไม่คำนึงถึงบรรยากาศทางการเมืองในแต่ละวัน และการจัดการกับวิกฤตโควิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อไปได้โดยไม่สะดุด ดังที่ Ms Leirvåg กล่าวไว้ว่า “คุณภาพชีวิตของคน และคุณภาพชีวิตของธุรกิจ ในประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ดี”

การจัดแสดงโรดโชว์ที่นำโดย BOI ในประเทศสำคัญๆ ที่เป็นแหล่งการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) ล้วนได้รับการตอบรับอย่างอบอุ่น บทความยังได้ยกตัวอย่าง เช่น ญี่ปุ่น มีหลายบริษัทมองเห็นโอกาสในการลงทุนในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ BCG ในประเทศไทย เช่น การพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ในขณะที่รายอื่นๆ สนใจในระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ และสิทธิพิเศษที่มีให้กับบริษัทที่ย้ายสำนักงานใหญ่เข้ามา

“จากการสำรวจล่าสุดของเรา บริษัทญี่ปุ่นหลายรายยืนยันว่า จะขยายการดำเนินงานในประเทศไทย” กล่าวโดย Kuroda Jun หัวหน้าผู้แทนองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ประจำอาเซียน

ประเทศไทยยังเป็นผู้ส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์คอมพิวเตอร์รายใหญ่เป็นอันดับสองของโลก เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 10 และเป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์อาหารชั้นนำของโลก กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่เหล่านี้ มีห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่ง และโครงสร้างพื้นฐานที่ดี รวมถึงท่าเรือ ถนน และแหล่งจ่ายพลังงาน เหล่านี้ คือ สิ่งที่ดึงดูดใจที่สำคัญต่อนักลงทุนชาวญี่ปุ่น ตามการสำรวจของ JETRO

นักลงทุนรู้กันดีว่า พวกเขากำลังพบกับความท้าทายในประเทศไทย ประเทศที่มีประชากร 70 ล้านคน ต้องเผชิญกับอุปสรรคตั้งแต่ ปัญหาการจราจรติดขัด ประชากรสูงอายุ ไปจนถึงระบบการศึกษา และการฝึกอบรม ซึ่งบางครั้งก็ต้องดิ้นรนเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้

“แม้ว่าเราจะมีทรัพยากรบุคคลที่เรียกได้ว่าแข็งแกร่งพอควร แต่ความท้าทายในขณะนี้ คือ การยกระดับกำลังคนของประเทศไทยให้สูงขึ้น” กล่าวโดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หน่วยงานอิสระภาคเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร

ดร.สมเกียรติ ซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ BOI มองว่ากลยุทธ์การลงทุนใหม่นี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการรับมือกับความท้าทายดังกล่าว เขาชี้ให้เห็นถึงความยืดหยุ่นมากขึ้นของ BOI ที่มีต่อบริษัทประเภทต่างๆ ทั้งยังกล่าวด้วยว่า สิ่งจูงใจที่เพิ่มขึ้นมาสำหรับนักลงทุนที่ก่อตั้งมานาน จะช่วยให้พวกเขายกระดับเกมของพวกเขาได้สูงขึ้น ดังที่ ดร.สมเกียรติ ได้กล่าวว่า “พวกเขามีพลวัต แล้วก้าวขึ้นบันไดที่มูลค่าสูงขึ้น”  “ประเทศต้องเดินหน้า และนักลงทุนก็ต้องเดินหน้าเช่นกัน” สามารถอ่านบทความฉบับเต็มเพิ่มเติมได้ที่ https://www.boi.go.th/un/advertorial14

ที่มา: Thailand Board of Investment (BOI)

About pawarit

Check Also

ทำไม Tesla ต้องใช้ที่ดินมากถึง 2,000 ไร่ เพื่อตั้งจัดโรงงาน EV ในไทย แต่ทางกลับกัน BYD ใช้เพียง 600 ไร่เท่านั้น

Tesla ต้องการที่ดินมากถึง 2,000 ไร่ หากจะให้พวกเขาลงทุนในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า EV ในประเทศไทย แต่การวางผังเมืองอาจจะไม่สนับสนุน โดย Tesla กำลังพิจารณาที่ดินในเขตลาดกระบัง แต่ก็ยังต้องรอดูว่าข้อตกลงจะสามารถปิดได้โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการวางผังเมืองหรือไม่ และอาจส่งผลต่อความล่าช้าที่จะเริ่มต้นสร้างโรงงาน การเผชิญกับความท้าทายในการวางผังเมืองนี้

Hyundai และ Kia เรียกคืนรถยนต์ EV เกือบ 170,000 คัน จากปัญหาซอฟต์แวร์ควบคุมการชาร์จในเกาหลีใต้

ประมาณ 170,000 คันในเกาหลีใต้ที่ Hyundai และ Kia เรียกคืนสาเหตุมาจากปัญหาเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ในระบบการชาร์จ อ้างอิงข้อมูลตามที่กระทรวงคมนาคมของเกาหลีใต้รายงาน