Alstom เพิ่มศักยภาพในไทยด้วยศูนย์ Digital Mobility Lab แห่งใหม่

Alstom ผู้นำระดับโลกด้านระบบขนส่งอัจฉริยะที่ยั่งยืน ได้เปิดตัวศูนย์ Digital Mobility Lab แห่งใหม่ ใน กรุงเทพมหานคร เป็นการตอกย้ำถึงความเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทย โดยศูนย์แห่งใหม่นี้ขยายพื้นที่มากกว่า 277 ตร.ม. ทำให้มีพื้นที่สำหรับปฏิบัติงานในไทยโดยรวมมากกว่า 2,000 ตร.ม.ซึ่งสามารถรองรับการดำเนินโครงการขนานกันไป ได้มากกว่า 100 โครงการ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (รฟม.) นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ และฯพณฯท่านเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย Jean-Claude Poimboeuf ได้เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีเปิดศูนย์ปฏิบัติการ : Digital Mobility Lab ซึ่งการเข้าร่วมพิธีนี้นับเป็นความร่วมมืออันดี ระหว่างฝรั่งเศสและไทย ด้านความล้ำสมัยของเทคโนโลยีเเละนวัตกรรมขั้นสูง

  • ศูนย์ปฏิบัติการ ตั้งอยู่ใจกลาง กรุงเทพมหานคร ซึ่งศูนย์แห่งนี้ นับเป็นป็นสถานที่หลัก ที่ใช้มุ่งเน้นพัฒนา ทดลอง และวิเคราะห์ โซลูชันระบบขนส่งดิจิทัล (Digital Mobility) และอาณัติสัญญาน (Signaling) เพื่อยกระดับความสามารถของบริษัท ด้านการขนส่งอัจฉริยะ (smart mobility)
  • ศูนย์ปฏิบัติการที่ขยายขึ้นใหม่นี้ มีพื้นที่มากกว่า 277 ตร.ม. ทำให้มีพื้นที่โดยรวมของห้องปฏิบัติงานในไทยมากกว่า 2,000 ตร.ม. ซึ่งสามารถรองรับการดำเนินงาน ได้มากกว่า 100 โครงการพร้อม ๆกัน
  • นโยบายการขยายตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพของบริษัท  นำไปสู่ การเติบโตอย่างต่อเนื่องของ  ศูนย์วิศวกรรมระดับโลก ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันทางบริษัทได้มีการการจ้างพนักงานรวมแล้วกว่า 1,000 คน โดยมีวิศวกรที่มีความรู้และประสบการณ์เฉพาะด้านมากกว่า 700 คน

ศูนย์ปฏิบัตการอันทันสมัยที่สุดแห่งนี้ เป็นการขยายพื้นที่ศูนย์ปฏิบัติการของ ศูนย์วิศวกรรมโลก ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 1,000 คน โดยมีวิศวกรที่มากไปด้วยประสบการณ์ถึง 700 คน

ศูนย์ Digital Mobility Lab แห่งใหม่นี้มีเป้าหมายที่จะบ่มเพาะบุคลากรด้านเทคโนโลยีคุณภาพสูง และพัฒนาความสามารถด้านวิศวกรรมด้านระบบอาณัติสัญญาน และ กระบวนการเชื่อมโยงประสานงานระบบคอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ต่างๆเข้าด้วยกันเป็นระบบเดียว และสามารถมั่นใจว่าระบบย่อยทำงานร่วมกันเป็นระบบได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย สำหรับโครงการขนส่งระบบรางทั่วโลก ศูนย์แห่งนี้ไม่เพียงให้บริการลูกค้าในประเทศเท่านั้นแต่ยังมุ่งให้บริการลูกค้า Alstom ทั่วทุกมุมโลกทั้งในออสเตรเลีย , อียิปต์ ,เยอรมนี ,ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และประเทศอื่นๆ อีกมากมาย ในระหว่างพิธีเปิดงานคุณToby Tiberghie กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกกล่าวว่า “ทั้งศูนย์ปฏิบัติการ Digital Mobility Lab แห่งใหม่และการเติบโตของ ศูนย์วิศวกรรมโลก ของเราในประเทศไทย ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการยกระดับ เพื่อรองรับเทคโนโลยี สำหรับระบบนิเวศการเคลื่อนย้ายในประเทศไทย นับเป็นสิ่งที่มีนัยสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาวของ

Alstom ในประเทศไทย และเรามุ่งมั่นที่จะให้บริการคนไทยอย่างตั้งใจพร้อมทั้งลงทุนเพื่อให้เกิดการเติบโตและพัฒนาความสามารถของบุคลากรในประเทศเพื่อให้บรรลุมาตรฐานความเป็นเลิศระดับโลก”

Alstom นำเสนอโซลูชันด้านระบบการขนส่งอัจฉริยะที่ยั่งยืนในประเทศไทยมานานกว่า 40 ปี โดยไทยเป็นประเทศหนึ่งจากทั้งสองประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เป็นที่ตั้งศูนย์ปฏิบัติการระดับโลกของบริษัทในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Alstom มีบทบาทสำคัญในการส่งมอบโครงการด้านระบบรางและการคมนาคมที่สำคัญภายในประเทศ ได้แก่ ระบบครบวงจรแบบเทิร์นคีย์ สำหรับรถไฟฟ้าโมโนเรลสายแรกของกรุงเทพฯระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM) แห่งแรกของกรุงเทพฯรวมถึงระบบอาณัติสัญญานขั้นสูงสำหรับเส้นทางขนส่งมวลชนในเมืองหกสายและบางส่วนในโครงข่ายทางรถไฟสายหลัก

About pawarit

Check Also

Lenôtre Culinary Arts School Thailand ภายใต้บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) ปรับระบบบริหารจัดการธุรกิจให้ทันสมัย ด้วย SAP Business One โดย NDBS

แม้ว่าธุรกิจด้านอาหารจะเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ที่มีความต้องการอยู่ตลอดในฐานะหนึ่งในปัจจัยสี่ แต่การจะทำให้ธุรกิจมีความยั่งยืนมั่นคงได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบริหารจัดการธุรกิจที่ดี

Honeywell ขายธุรกิจ “Personal Protective Equipment (PPE)” มูลค่า 1,325 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ฮันนี่เวลล์ ประกาศเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2024 ว่า บริษัทได้ตกลงที่จะขายธุรกิจ Personal Protective Equipment (PPE) ให้กับ Protective Industrial Products, …